BRITISH INVASION MUSIC OF THE 60s LIVE IN BANGKOK

คอนเสิร์ต

BRITISH INVASION MUSIC OF THE 60s LIVE IN BANGKOK

  • calendar-white

    วันที่แสดง วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558

  • pin-linear-white

    สถานที่แสดง GMM Live House @ Central World Fl.8

  • clock-white

    ประตูเปิด ก่อนการแสดงเริ่มประมาณ 30 นาที

  • calendar-sale-white

    วันเปิดจำหน่าย วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม 2558, 10:00 น.

แชร์
BRITISH INVASION MUSIC OF THE 60s LIVE IN BANGKOK

ผังการแสดง & รอบการแสดง

GMM Live House @ Central World Fl.8

ราคาบัตร

วันที่แสดง
เวลา
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2558

เงื่อนไข

  • 1 หมายเลข/ 1สิทธิ์/ โครงการ
  • เฉพาะจุดจำหน่ายไทยทิคเก็ตเมเจอร์เท่านั้น
  • สงวนสิทธิ์สำหรับลูกค้าเอไอเอส ที่มียอดค่าใช้โทรศัพท์เฉลี่ย 300 บาท/เดือนขึ้นไป
  • กรุณากดรับสิทธิ์ต่อหน้าพนักงานและขอสงวนสิทธิ์ยกเว้นการรับสิทธิ์จากการ Capture หน้าจอ

รายละเอียด

บริติช อินเวดชั่น
“มิวสิค ออฟ เดอะ ซิกตี้ส์”
ไลฟ์ อิน แบงคอก
16 พฤษภาคม 2558 / 17.00
เมืองไทย จีเอ็มเอ็ม ไลฟ์ เฮ้าส์ @ เซ็นทรัลเวิร์ล ชั้น 8
 
เทศกาลดนตรีพิเศษนี้เพื่อรำลึกถึงปรากฏการณ์ดนตรีทศวรรษที่หกศูนย์ระดับตำนานที่เรียกว่า เดอะ บริติช อินเวดชั่น เกิดกระแสความคลั่งไคล้ดนตรีป็อปจากอังกฤษที่แผ่ขยายไปทั่วโลก เหล่าศิลปินที่ร่วมแสดงในคอนเสิร์ตสำคัญนี้ทั้งหมดได้ร่วมประสบการณ์ครองโลกดนตรีและมีเพลงฮิตติดท็อป 40 รวมกันมากกว่า 70 เพลง!! เสียงเพลงและรูปลักษณ์ของพวกเขาได้เปลี่ยนวัฒนธรรมป็อปไปตลอดกาล และคราวนี้พวกเขากลับมาฉลองและยกย่องเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลายๆเพลงของศตวรรษที่ 20
 
The Animals - ดิ แอนิมอลส์ เริ่มก่อตั้งที่เมืองนิวคาสเซิ่ล ประเทศอังกฤษในชื่อว่า เดอะ แคนซัส ซิตี้ ไฟว์ -- พวกเขามีอิทธิพลสำคัญต่อวงดนตรีอังกฤษแนวอาร์แอนด์บีในช่วงต้นทศวรรษที่หกศูนย์ ต่อมาในปี 2507 ก็ย้ายไปที่ลอนดอนเพื่อแสวงหาชื่อเสียง ดิ แอนิมอลส์ เป็นที่รู้จักเพราะเสียงเพลงออกบูลส์ กระด้างๆ พวกเขาผสมผสานซิงเกิ้ลป๊อปร็อคหยาบๆเข้าไว้ในอัลบั้มเพลงแบบบูลส์ได้อย่างลงตัว และพวกเขาเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นส่วนหนึ่งของบริติช อินเวดชั่น
 
1964 "Baby Let Me Take You Home" (UK #21)
1964 "Gonna Send You Back to Walker" (US #57)
1964 "House of the Rising Sun" (UK #1, US #1)
1964 "I'm Crying" (UK #8, US #19)
1965 "Don't Let Me Be Misunderstood" (UK #3, US #15)
1965 "Bring It On Home to Me" (UK #7, US #32)
1965 "We Gotta Get out of This Place" (UK #2, US #13)
1965 "It's My Life" (UK #7, US #23)
1966 "Inside-Looking Out" (UK #12, US #34)
1966 "Don't Bring Me Down" (UK #6, US #12)
 
The Marmalade - เดอะ มาร์มาเลด เป็นวงป๊อปร็อคจากย่านอีสต์เอนด์ในเมืองกลาสโกว์ของประเทศสก็อตแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี 2504 โดยใช้ชื่อว่า เดอะ เกย์ลอร์ด และต่อมาเปลี่ยนเป็น ดีน ฟอร์ด แอนด์ เดอะ เกย์ลอร์ด ในปี 2509 พวกเขาจึงเปลี่ยนชื่อวงเป็น เดอะ มาร์มาเลด ช่วงเวลาที่วงประสบความสำเร็จมากที่สุดในอันดับเพลงอังกฤษคือระหว่างปี 2511 และ 2515
 
1968 “Lovin’ Things” (UK #6)
1968 “Wait For Me Marie-Anne” (UK #30)
1968 “Ob-La-Di Ob-La-Da” (UK #1)
1969 “Baby Make It Soon” (UK #9)
1969 “Reflection of My Life” (UK #3, US #10)
1970 “Rainbow” (UK #3, US #51)
1971 “My Little One” (UK #15, US #123)
1971 “Cousin Norman” (UK #6)
1971 “Back on the Road” (UK #35)
1972 “Radancer” (UK #6)
1976 “Falling Apart at the Seams” (UK #9, US #49)
 
Mike Pender’s Searchers - ไมค์ เพนเดอร์ เป็นนักร้องนำของวง เดอะ เซิร์ชเชอร์ส หนึ่งในวงดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดที่มาจากเมืองลิเวอร์พูลในช่วงต้นทศวรรษที่หกศูนย์ นอกจากนั้นแล้วเขายังเล่นริฟฟ์ด้วยกีต้าร์ริคเคนแบคเคอร์ 12 สายที่กลายเป็นเครื่องหมายการค้าในเพลงฮิตที่แสนโด่งดังอย่าง “นีดเดิ้ลส์ แอนด์ พินส์” ซึ่งเป็นการเปิดทางให้กับดนตรีโฟล์คร็อคจากเวสต์โคสต์อย่าง เดอะ เบิร์ดส ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จด้วย ตลอดอายุของวง เดอะ เสิร์ชเชอร์ส มีผลงานเพลงของนักแต่งเพลงหลายคนเช่น แจ็คกี้ เดอแชนนอน, พี.เอฟ. สโลน, แจ็ค นิตซ์สเช่ และ โทนี่ แฮตช์ ที่พวกเขาทำให้ดังไปทั่วโลก
 
1963 "Sweets for My Sweet" (UK #1)
1963 "Sweet Nothin’s" (UK #48)
1963 "Sugar and Spice" (UK #2, US #44)
1964 "Needles and Pins" (UK #1, US #13)
1964 "Ain't That Just Like Me" (US #61)
1964 "Don't Throw Your Love Away" (UK #1, US #16)
1964 "Some Day We're Gonna Love Again" (UK #11, US #34)
1964 "When You Walk in the Room" (UK #3, US #35)
1964 "Love Potion No. 9" (US #3)
1964 "What Have They Done to the Rain" (UK #13, US #29)
1965 "Bumble Bee" (UK #21)
1965 "Goodbye My Love" (UK #4, US #52)
1965 "He's Got No Love" (UK #12, US #79)
1965 "When I Get Home" (UK #35)
1965 "Take Me For What I'm Worth" (UK #20, US #76)
1966 "Take It Or Leave It" (UK #31)
1966 "Have You Ever Loved Somebody?" (UK #48, US #94)
1967 "Western Union" (US #115)
1971 "Desdemona" (US #94)
 
Spencer Davis - เดอะ สเปนเซอร์ เดวิส กรุ๊ป มีซิงเกิ้ลอาร์แอนด์บีฮิตๆหลายเพลงในทศวรรษที่หกศูนย์ และยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นวงที่เริ่มต้นอาชีพในวงการเพลงให้กับศิลปินร็อคตัวพ่อ สตีฟ วินวู้ด อีกด้วย โด่งดังจากประเทศเวลส์ สเปนเซอร์ ตั้งวงสเปนเซอร์ เดวิส กรุ๊ปในปี 2506 ผลิตเพลงฮิตติดท็อป 10 นับสิบเพลงเป็นตัวช่วยนำเพลงร็อคแอนด์โรลจากอังกฤษสู่ส่วนอื่นๆของโลก
 
1964 “I Can't Stand It” (UK #47)
1965 “Every Little Bit Hurts” (UK #41)
1965 “Strong Love” (UK #44)
1965 “Keep On Running” (UK #1, US #76)
1966 “Somebody Help Me” (UK #1, US #47)
1966 “When I Come Home” (UK #12)
1966 “Gimme Some Lovin'” (UK #2, US #7)
1967 “I'm A Man” (UK #9, US #10)
1967 “Time Seller” (UK #30, US #100)
1967 “Mr Second Class” (UK #35)
1968 “Looking Back” (US #100)
 
The Tremeloes - ในวันปีใหม่ปี 2505 บริษัทแผ่นเสียงเดคค้าทดสอบวงดนตรี 2 วงที่สตูดิโอของบริษัทในลอนดอน วงแรกคือ เดอะ ทรีเมโลส์ จากย่านเอสเซ็กทางตอนเหนือของลอนดอนที่พอมีชื่อเสียง และวงดนตรีสี่คนที่ไม่มีใครรู้จักจากเมืองลิเวอร์พูล เดอะ บีทเติ้ลส์ ซึ่งบริษัทเดคค้าเลือกเซ็นสัญญากับ เดอะ ทรีเมโลส์ เพราะการแต่งตัวแบบคนลอนดอนดูแล้วพวกเขาน่าจะเข้าถึงได้ง่ายกว่า ถ้าจะว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่ดีอาจจะดูน้อยกว่าความเป็นจริง แต่เดอะ ทรีเมโลส์ก็ยังผลิตเพลงฮิตให้กับบริษัทเดคค้ามากมายหลายเพลงในอันดับท็อป 40 ของอังกฤษ
 
1963 "Twist and Shout" (UK #4)
1963 "Do You Love Me" (UK #1)
1963 "I Can Dance" (UK #31)
1964 "Candy Man" (UK #6)
1964 "Someone Someone" (UK #2, US #97)
1964 "Twelve Steps to Love" (UK #32)
1965 "Three Bells" (UK #17)
1965 "I Want Candy" (UK #25)
1967 "Here Comes My Baby" (UK #4, US #13)
1967 "Silence is Golden" (UK #1, US #11)
1967 "Even the Bad Times Are Good" (UK #4, US #36)
1967 "Be Mine" (UK #39)
1968 "Suddenly You Love Me" (UK #6, US #44)
1968 "Helule Helule" (UK #14)
1968 "My Little Lady" (UK #6)
1968 "I Shall Be Released" (UK #29)
1969 "Hello World" (UK #14)
1969 "(Call Me) Number One" (UK #2)
1970 "By the Way" (UK #35)
1970 "Me and My Life" (UK #4)
1971 "Hello Buddy" (UK #32)
 
The Troggs - อีกหลายทศวรรษนับจากนี้เมื่อนักศึกษาดนตรีสืบค้นหาต้นกำเนิดดนตรีพั๊งค์ร็อค พวกเขาจะพบทางสายหนึ่งนำตรงไปสู่วงดนตรีในกลุ่มบริติช อินเวดชั่นชื่อ เดอะ ทร็อกส์ ที่จริงแล้ว เดอะ ทร็อกส์ เล่นดนตรีทั้งฮาร์ดร็อคและอัลเทอร์เนทีฟระหว่างเวลากว่า 45 ปีที่พวกเขาอยู่ด้วยกัน เดอะ ทร็อกส์ -- เป็นชื่อที่ย่อมาจากชื่อเดิมของพวกเขาคือ เดอะ ทร็อกโลไดต์ส (หมายถึง มนุษย์ถ้ำ) -- ก่อตั้งในปี 2507
 
1966 “Wild Thing” (UK #2, US #1)
1966 “With A Girl Like You” (UK #1, US #29)
1966 “I Can't Control Myself” (UK #2, US #43)
1966 “Any Way That You Want Me” (UK #8)
1967 “Give It To Me” (UK #12)
1967 “Night Of The Long Grass” (UK #17)
1967 “Hi Hi Hazel” (UK #42)
1967 “Love Is All Around” (UK #5, US #7)
1968 “Little Girl” (UK #37)
1968 “You Can Cry If You Want To” (US #120)
1975 “Good Vibrations” (US #102)
 
ด้วยความตั้งใจของ ฟิโก้ คอร์เปอเรชั่น และ มิวส์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ กรุ๊ป พร้อมด้วยผู้สนับสนุนทั้งหมด เป็นจุดมุ่งหมายของเราที่จะจัดงานฉลองให้กับแฟนเพลงที่รักเพลงป๊อป เพลงร็อคทศวรรษที่หกศูนย์จากอังกฤษเพื่อให้ดนตรีและความทรงจำยังคงอยู่ต่อไป… และเราหวังว่าคุณจะไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองนี้
 
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเชิญไปที่ http://www.facebook.com/MEGThailand