คอนเสิร์ต 'เผยอิงสัมพันธ์'

คอนเสิร์ต

คอนเสิร์ต 'เผยอิงสัมพันธ์'

  • calendar-sale-white

    วันเปิดจำหน่าย วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559, 10:00 น.

แชร์

ผังการแสดง & รอบการแสดง

วันที่แสดง
เวลา
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559

รายละเอียด

ครบรอบ 70 ปี สมาคมศิษย์เก่าเผยอิงจัด
คอนเสิร์ต  เผยอิงสัมพันธ์
เชิญศิลปินจากประเทศจีนและศิลปินไทยร่วมแสดงกับวง BSO
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559  เวลา 14.00 น.
ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 
สมาคมศิษย์เก่าเผยอิง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2489 และในปี 2559 จะครบรอบการก่อตั้ง 70 ปี  สมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาษาจีน เผยแพร่วัฒนธรรมจีน  ตลอดจนบำเพ็ญสาธารณประโยชน์  ในโอกาสนี้คณะกรรมการสมาคมฯได้กำหนดจัดงานเฉลิมฉลองในวาระสำคัญนี้ โดยการจัดการแสดงคอนเสิร์ต “เผยอิงสัมพันธ์”  บรรเลงโดยวง Bangkok Symphony Orchestra (BSO) อำนวยเพลงโดย เซียว เซา ผู้อำนวยเพลงชาวจีนที่มีชื่อเสียง ร่วมด้วยนักดนตรีจากประเทศจีน เฉิน ฟ่ง (เอ้อร์หู) และ ติงเซะเอ๋อ (กู่เจิง)  นักร้องรับเชิญ จาง เฉา ซี, หลิน อี ผิง, หลี ไป๋ และนักร้องคุณภาพชั้นนำจากประเทศไทย ธีรนัยน์ ณ หนองคาย และ ศรัณย์ คุ้งบรรพตโดยนำเสนอบทเพลงจีนคลาสสิก  บทเพลงจีนร่วมสมัย อาทิ Zai Na Yao Yuan De Di Fang, Yang Guang Lu Sang, Da Di Fai Ge … และบทเพลงไทยอมตะ อาทิ ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้, หงส์ เหนือมังกร ... บรรเลงโดยวง บีเอสโอ   กำหนดแสดงในวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559  เวลา 14.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

บัตรราคา   300 / 500 / 1,200 / 2,000 / 3,000  จำหน่ายบัตรที่ ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
สมาคมศิษย์เก่าเผยอิง  โทร. 02-321-8415-6
มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ  โทร. 02-255-6617-8
--------------------------------------------------------------------------------------------------
 
เซียวเชา
ผู้อำนวยเพลง

เซียวเชา วาทยากรดาวรุ่ง สำเร็จการศึกษาปริญญาโท เอกวิชาวาทยากร จากมหาวิทยาลัยการดนตรีเซี่ยงไฮ้ และปริญญาโท เอกวิชาการบรรเลงซอเออร์หูจากมหาวิทยาลัยการดนตรี เสฉวน  ปัจจุบันเป็นวาทยากรให้กับวงซิมโฟนีเสฉวน สถาบันโอเปร่ามณฑลกานซู่ วงซิมโฟนีและการแสดงหนิงเซี่ย วงซิมโฟนีซีอัน วงดนตรีสถาบันการดนตรีเสฉวน เป็นวาทยากรวงเครื่องสายพื้นเมืองของสถาบันการดนตรีซีอัน วงดนตรีพื้นเมืองของสถาบันการแสดงมณฑลซานซี เป็นผู้ช่วยวาทยากรพิเศษในวงดนตรีฮ่องกง ได้มีโอกาสอำนวยเพลงดนตรีตะวันตก ดนตรีจีน การขับร้องประสานเสียงในหลายที่ของประเทศจีนซึ่งล้วนเป็นงานสำคัญๆ
 
เมื่อเร็วๆ นี้เขาได้ออกแสดงคอนเสิร์ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เข้าร่วมแสดงของสถาบันการขับร้องและละคร ครั้งที่ 2 ร่วมแสดงในคณะซิมโฟนีหนิ่งเซี่ยในเทศกาลดนตรีซิมโฟนีภาคตะวันตก ครั้งที่ 3 ร่วมกับวงเครื่องสายพื้นบ้านของสถาบันการดนตรีซีอัน แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมฮ่องกงในคอนเสิร์ตเส้นทางสายไหม ร่วมแสดงกับวงการแสดงศิลปะชนพื้นเมืองซ่านซีในเทศกาลดนตรีที่อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์  เข้าร่วมการแสดงคอนเสิร์ตแลกเปลี่ยนดินแดนแม่น้ำสองสายจีน รัสเซีย ล่าสุดได้รับรางวัลที่ 1 ชนะเลิศการประกวดการบรรเลงเครื่องดนตรีนานาชาติ

--------------------------------------------------------------------------------------------------


ติง เซียะเอ๋อ, กู่เจิง
 
คุณ"ติงเซียะเอ๋อ" เป็นนักบรรเลงกู่เจิง ที่ได้รับรางวัลสถาปนาว่าเป็นนักดนตรีชาวจีนยอดเยี่ยมอันดับ1ของประเทศจีน โดยได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆมากมาย เช่น รางวัล Golden Bell, รางวัลผู้สืบสานวัฒนธรรม และรางวัลจากสถาบันขงจื้อ แห่งมหาวิทยาลัย Pfeiffer University ฯลฯ
คุณ "ติงเซียะเอ๋อ" จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยดนตรีกลางที่มีชื่อเสียงของประเทศจีน และเป็นนักบรรเลงกู่เจิงแนวหน้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
คุณ "ติงเซียะเอ๋อ" ได้บรรเลงดนตรีในงานโอลิมปิกที่ประเทศจีนในปี2008 ให้แก่ผู้แทนจากทุกประเทศที่มาร่วมงานฟัง และยังได้อัดอัลบั้มดนตรีเพลงจีนโบราณเป็นของที่ระลึกมอบให้แก่ผู้แทนฯดังกล่าวอีกด้วย และยังได้มอบอัลบั้มดังกล่าวแก่สถาบันขงจื้อทั่วโลก
คุณ "ติงเซียะเอ๋อ" ได้รับเชิญให้ไปแสดงดนตรีที่มหาวิทยาลัยอันมีชื่อเสียงในนานาประเทศ เช่น Berklee College of Music, New England Conservatory of Music, Boston University และ Princeton University โดยได้ใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนาด้านดนตรีได้เป็นอย่างดี โดยได้เผยแพร่ดนตรีหลากหลายประเภทของประเทศจีนให้แก่ชาวต่างชาติอีกด้วย

ในการประชุม APEC ในปี2014 ที่ผ่านมา คุณ ติงเซียเอ๋อ" ได้รับเกียรติให้บรรเลงดนตรีภายในงาน และได้รับเสียงชื่นชมตอบรับเป็นอย่างดีจากสื่อมวลชนหนังสือพิมพ์หลากหลายสำนักพิมพ์ทั่วโลก ว่าเป็นสุดยอดนักดนตรี และได้รับเชิญให้ไปอัดเทปออกรายการโทรทัศน์ของประเทศจีนมากมาย และได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเทศกาลดนตรีที่เมืองคานส์ (Cannes Film Festival) ประเทศฝรั่งเศส 

คุณ "ติงเซียะเอ๋อ" เคยอัดทำนองประกอบบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงแนวหน้าของประเทศจีนเช่น "ความรักในหอแดง" , "ตำนานใหม่ของวีรบุรุษแร้ง" ฯลฯ รวมทั้งยังเคยเล่นดนตรีประกอบภาพยนต์จีนที่มีชื่อเสียงอีกหลายเรื่อง

ในการประชุม G20 ปี2016 คุณ "ติงเซียะเอ๋อ" ก็ได้รับเชิญให้ไปเล่นดนตรีในงานนี้ด้วย บรรดานักดนตรีด้วยกันก็ต่างชื่นชมว่า "เขาเป็นนักดนตรีที่เก่งมาก เล่นได้ไพเราะ และมีเทคนิคพื้นฐานที่ยอดเยี่ยม เป็นยอดฝีมือที่หาคนเทียบได้ยาก อนาคตไกลแน่นอน"

--------------------------------------------------------------------------------------------------


ธีรนัยน์  ณ หนองคาย
 
ธีรนัยน์จบการศึกษาปริญญาตรีและโทด้านภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล เธอเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 4 ปี และเรียนรู้การร้องเพลงอย่างจริงจังกับอาจารย์อนุชิต นันทขว้าง เธอสอบเทียบวัดระดับเกรด 8 ด้านการร้องเพลงคลาสสิคจากสถาบัน Guildhall School of Music and Drama ลอนดอน และในช่วงต่อมาเธอได้ศึกษาการขับร้องเพิ่มเติมกับอาจารย์ Beth Ellen และอาจารย์สุชีรา อังคไพโรจน์
 
เธอเริ่มงานแสดงด้วยการเป็นนักร้องรับเชิญของวงดุริยางค์ราชนาวีในงานกาชาดคอนเสิร์ตในปี 2538 จากนั้นด้วยน้ำเสียงเมสโซโซปราโนที่หวานกังวานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เธอได้ร่วมงานคอนเสิร์ตกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพและวงดนตรีชั้นนำอื่นๆหลายครั้ง เธอได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนนักร้องไทยไปเผยแพร่เพลงพระราชนิพนธ์ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศโมร็อกโกในปี 2542-43 และขับร้องในงาน The King's Jazz Concert ที่ประเทศนอร์เวย์ในปี 2549 เป็นผู้แสดงนำในบท "อังศุมาลิน" ในละครเวทีเรื่อง "คู่กรรม เดอะมิวสิคัล" ในปี 2546-2554 มีผลงานขับร้องเพลงภาคภาษาไทยประกอบภาพยนตร์การ์ตูนฮอลลีวูด เช่นเรื่อง Pocahontas I & II, Prince of Egypt และ Enchanted  เพลงประกอบละครโทรทัศน์ และเพลงประกอบภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 4
 
ธีรนัยน์เคยเข้าทำงานด้านการสอนร้องเพลงที่สถาบันดนตรีมีฟ้า ปัจจุบันเธอสอนส่วนตัวแบบอิสระและได้รับประกาศนียบัตร Trinity Awards Thailand 2010 ด้านการสอนจาก Trinity Guildhall
ในปี 2555 ได้รับรางวัลศิลปินหญิงเดี่ยวยอดเยี่ยม " คมชัดลึกอวอร์ด 2555 "

--------------------------------------------------------------------------------------------------


ศรัณย์  คุ้งบรรพต
 
ศรัณย์ คุ้งบรรพต หรือ โน้ตเริ่มต้นชีวิตการร้องเพลงเมื่ออายุได้เพียง 8 ปี โดยเข้าร่วมการประกวดนักร้องยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2534 และได้รับตำแหน่งนักร้องยุวชนยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ศรัณย์สั่งสมประสบการณ์การร้องเพลงทั้งจากเวทีในประเทศไทยและเวทีระดับนานาชาติ ศรัณย์หวลกลับมาคว้ารางวัลนักร้องดีเด่นแห่งประเทศไทยในปี 2544 บนเวทีเดิมอีกครั้งก่อนที่จะได้รับเกียรติให้เข้าร่วมแสดงกับวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ (Bangkok Symphony Orchestra) ในปี 2545 ใน “คอนเสิร์ต 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” และคอนเสิร์ตต่างๆ อีกมากมาย
 
บนเวทีระดับนานาชาติ ศรัณย์ ได้รับรางวัลนักร้องหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ณ กรุงเซี่ยงไฮ้ในปี 2545 และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการประกวดนักร้องหน้าใหม่แห่ง Pan Asia ณ กรุงปักกิ่ง ในปี 2553 ซึ่งทำให้ได้รับเชิญเข้าร่วมแสดงบนเวทีนานาชาติอีกหลายโอกาส
ในปี 2556 ศรัณย์ได้รับเชิญให้สวมบทบาท “วิรัช” ในละครเพลงเลื่องชื่อ ปริศนา เดอะ มิวสิคัล และ ได้รับเชิญจาก KPN Award ให้เป็นหนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือกผู้เข้าประกวดจากทั่วประเทศเป็นเวลาสามปีติดต่อกัน ศรัณย์ใช้เวลาว่างไปกับการเป็นคอลัมนิสต์ให้กับ นิตยสารวอลุ่มแมกกาซีน และโกลว แมกกาซีน
 
ศรัณย์ จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยม) และ มหาวิทยาลัยวอริค สหราชอาณาจักรในระดับปริญญาโท ในสาขาการบริหารและการจัดการทางธุรกิจ ศรัณย์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่าย กลุ่มงานทรัพยการบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้น ศรัณย์ ยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษในโครงการนานาชาติ ระดับปริญญาโท ของสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ปัจจุบัน ศรัณย์ได้รับคัดเลือกจากกลุ่มกรุงศรีฯ ให้ไปประจำและศึกษาดูงานที่ MUFG Union Bank  ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

--------------------------------------------------------------------------------------------------


เฉิน ฟ่ง
เอ้อร์หู
 
  • อาจารย์รับเชิญสถาบันดนตรีซิงไห่
  • ศิษย์รองศาสตราจารย์เหวินฉวนอิ๋ง
  • นักศึกษาวิจัยวิชาชีพซอสองสายสถาบันดนตรีซิงไห่
  • รางวัลเหรียญทองการแข่งขันวิชาชีพ  ซอสองสาย ในงานวันศิลปินชาวจีนเยาวชน ครั้งที่ 2
  • รางวัลเหรียญทองการแข่งขันชนะเลิศทั่วประเทศในงานวันศิลปินเยาวชน ครั้งที่ 3
  • รางวัลระดับ 3 การแข่งขันวิชาชีพซอสองสาย “ถ้วยตุนหวง” ครั้งแรก
  • ตัวแทนสถาบันดนตรีซิงไห่ร่วมงานรางวัลสูงสุดระฆังทองทั่วประเทศสองครั้งและรางวัลเข้ารอบคัดเลือก
  • เดินทางไปบรรเลงเดี่ยวและร่วมบรรเลงกับวงซิมโฟนี ที่เกาหลี ฮ่องกง มาเก๊า และร่วมแสดงกับคณะดนตรีพื้นบ้าน
  • กระทั่งแผ่นซีดีดนตรีพื้นบ้านประเภทต่างๆ ทำการบันทึกเสียงเพลงกวางตุ้ง
  • ปี 2014 ณ. เมืองฝอซานจัดงานดนตรี “กิ่งทองใบหยก” แสดงเดี่ยวซอสองสายและกู่เจิง
  • ปี 2010 ร่วมงานกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ นับถอยหลัง 100 วัน ถ่ายทอดสดทาง CCTV
  • ทำหน้าที่บรรเลงเดี่ยวซอสองสายต่อหน้าผู้ชม
--------------------------------------------------------------------------------------------------


หลี ไป๋
นักร้อง

 
 
  • กรรมการสมาคมดนตรีเพลงกวางตุ้ง
  • นักร้องเสียงสูงเยาวชนชายคณะสังคีตหนานฟวง
  • มีสมญานามว่า “ทูตกุศลสันติสุขกวางตุ้ง” นักดนตรีดีเด่นกวางตุ้ง
  • เคยแสดงเป็น “กงฮุยเหนิง” ในละครเพลงชุดใหญ่ฉบับเดิม
  • แสดงเป็น “หม่าคู่” ในละครเพลงฟินแลนด์เรื่อง “Play me” ยุคปัจจุบันฉบับภาษาจีน
  • ทั้งยังขับร้องเพลงไตเติ้ลด้วย
  • ได้รับรางวัลที่ 1 การแข่งขันขับร้องเพลง “ดาวรุ่ง หยางเฉิน ครั้งที่ 5” รับระฆังทองดนตรีประเทศจีน”
  • รางวัลดนตรีระดับ 1  วิถีขับร้องแบบชนชาติจงหวาดีเด่นศตวรรษ 21
  • รางวัลนักร้องดีเด่นการแข่งขัน วิถีขับร้องแบบชนชาติวิชาชีพเยาวชนทั่วประเทศ “ถ้วยประเทศจีน” ครั้งที่ 3
  • รางวัลดาวรุ่งการแสดงเฉพาะตัวงานศิลปินกวางตุ้งครั้งที่ 12 เป็นต้น
  • เดือน ธ.ค. 2010 ณ. CCTV-1  CCTV-5 ทีวีดาวเทียมทั่วโลก ถ่ายทอดสดคืนพิธีปิดงานของกีฬาคนพิการเอเชีย 2010
  • ขับร้องเพลงรั้งท้ายงานกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ รายการเพลง (กวางเจาเมืองพฤกษาอันสวยงาม)
  • เดือน ต.ค. 2011 ร่วมรายการ CCTV งานราตรีศิลปะวรรณคดีชุดใหญ่ “เดินเข้าถิ่นเดิมอริยะแพทย์” ในส่วน (ท่องเที่ยวจีนอย่างกลมกลืน)
  • เดือน มิ.ย. 2012 เป็นตัวแทนมณฑลกวางตุ้ง เดินทางไปปักกิ่งร่วมงานศิลปะวรรณคดีชนชาติกลุ่มน้อยทั่วประเทศครั้งที่ 4
  • รางวัลทองคำ การแสดงละครเรื่อง (สิ่งประสงค์เอี๋ยวซาน)
  • เดือน ก.พ.2013 เดินทางไปแคนาดาร่วมงานราตรีตรุษจีนของชาวจีน
  • เดือน ม.ค. 2015 เดินทางไปอเมริการ่วมงานราตรีสโมสรตรุษจีนฮอลลี่วูด เรื่อง “รื่นเริงตรุษจีนอเมริกาเหนือ 2015” หลายปีผ่านมาหลีไป๋ เป็นตัวแทนส่วนกลางและมณฑลกวางตุ้งได้เดินทางไปแสดงในประเทศต่างๆ เช่น ฟิริ วานูอาตู ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา เกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา ปานามา กลุ่มประเทศอาหรับ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เป็นต้น  ซึ่งได้เดินทางไปใต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า เพื่อไปทำการแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและไปทำการแสดงปลอบขวัญเหล่าทหารหลายครั้ง ได้รับการสัมภาษณ์จากสถานีโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
--------------------------------------------------------------------------------------------------


จาง เฉา สี
นักร้อง

 
  • กรรมการสมาคมดนตรีเพลงกวางตุ้ง
  • สมาชิกสมาคมดนตรีกวางตุ้ง
  • สมาชิกสมาคมดนตรีสมัยนิยมกวางตุ้ง
  • นักร้องเสียงสูงเยาวชนหญิงคณะสังคีตหนานฟาง
  • นักร้องกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ปี 2010
  • มีสมญานามว่า “ทูตกุศลสันติสุขกวางตุ้ง”นักดนตรีดีเด่นกวางตุ้ง
  • ได้รับรางวัลดนตรีชั้น 1 “วิถีชีวิตขับร้องแบบชนชาติจงหวาดีเด่นศตวรรษ 21
  • รางวัลทองคำ “วิถีขับร้องแบบชนชาติวิชาชีพเยาวชนทั่วประเทศ” รอบคัดเลือก
  • รางวัลที่ 3 นักร้องเยาวชนทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 CCTV ถ่ายทอดสดเขตแข่งขันจี้หลิน
  • รางวัลดีเด่น ถ่ายทอดสดนักร้องเยาวชนกวางตุ้ง
  • รางวัลยอดเยี่ยมการแสดงงานศิลปะวรรณคดีชนกลุ่มน้อยทั่วประเทศ ครั้งที่ 4
  • รางวัลนักร้องดีเด่นแข่งขันวิถีขับร้องแบบชนชาติวิชาชีพเยาวชนทั่วประเทศ “ถ้วยประเทศจีน” ครั้งที่ 3 เดินทางไปขับร้องเพลงในแบบฉบับดั้งเดิม ในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ออสเตรเลีย และอเมริกา
  • 12 พย. 2010 ร่วมเปิดการแสดงศิลปะวรรณคดีกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 16
  • เดือน ธ.ค. ปีเดียวกัน ณ CCTV-1 CCTV-5 ทีวีดาวเทียมทั่วโลกถ่ายทอดสดคืนพิธีปิดงานกีฬาคนพิการเอเชีย 2010
  • ขับร้องเพลงปิดงาน ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ในรายการ (กวางเจาเมืองพฤกษาอันสวยงาม)
  • เดือน ก.พ. 2013 เดินทางไปแคนาดาร่วมงานราตรีตรุษจีนของชาวจีน
  • เดือน ม.ค. 2015 เดินทางไปอเมริการ่วมงานราตรีสโมสรตรุษจีนฮอลลีวูดเรื่อง “รื่นเริงตรุษจีนอเมริกาเหนือ 2015”
  • รวมถึงการแสดงหลายรอบแห่งสัปดาห์วัฒนธรรมกวางตุ้งประเทศจีน
 
--------------------------------------------------------------------------------------------------


มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

 
เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525  โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ จัดตั้งและพัฒนาวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Bangkok Symphony Orchestra หรือ BSO) ให้เป็นวงออร์เคสตร้าของไทยในระดับอาชีพที่มีมาตรฐานสากล  ส่งเสริมเผยแพร่และสนับสนุนศิลปะดนตรีสากลคลาสสิกให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งในรูปแบบการแสดงและการศึกษา โดยมี นายอุเทน เตชะไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ คนแรก นับตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2525 - 2546 รวม 21 ปี  หลังจากนั้น ดร. สุขุม นวพันธ์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2559 นี้  มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 34 ของการก่อตั้ง วง BSO มีผลงานการแสดงมากมาย ได้นำเสนอกิจกรรมการแสดงหลากหลายรูปแบบ ทั้งประเภทซิมโฟนีคอนเสิร์ต เชมเบอร์มิวสิค  โอเปร่า  บัลเล่ต์  ออร์เคสตร้า ป็อป เพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ฟังทุกระดับวัยและรสนิยม  บทเพลงที่นำมาบรรเลง จึงมีทั้งผลงานประพันธ์แบบคลาสสิกทุกยุคสมัย  เพลงจากอุปรากร  ละครเพลง  เพลงประกอบภาพยนตร์  เพลงไทย  และเพลงสากลยอดนิยม เป็นต้น ภายใต้การอำนวยเพลงของผู้อำนวยเพลงรับเชิญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ร่วมด้วยศิลปินรับเชิญจากทั่วโลก  นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้จัดตั้งโรงเรียนดนตรีบางกอกซิมโฟนี (Bangkok Symphony Music School หรือ BSS)  เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการศึกษาด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป

กิจกรรมการแสดงคอนเสิร์ตที่สำคัญ ๆ ที่มูลนิธิฯ จัดขึ้น คือ คอนเสิร์ตรายการถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่  ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี  และในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคม  มูลนิธิฯ ได้จัดโครงการแสดง “ดนตรีในสวน”  แสดง ณ สวนลุมพินี ติดต่อกันเป็นเวลากว่า 20 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

คณะกรรมการมูลนิธิฯ  มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้วง BSO  เป็นวงออร์เคสตร้าแห่งกรุงเทพมหานครที่สร้างชื่อเสียง  และเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยตลอดไป