ศกุนตลา

การแสดง

ศกุนตลา

  • calendar-sale-white

    วันเปิดจำหน่าย วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559, 10:00 น.

แชร์

ผังการแสดง & รอบการแสดง

วันที่แสดง
เวลา
วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2559

นักเรียน นักศึกษา รับส่วนลด  50%

รายละเอียด

อุปรากร “ศกุนตลา”


ความเป็นมา
หากกล่าวถึงบทประพันธ์ “ศกุนตลา” คนไทยส่วนใหญ่คงจะรู้สึกคุ้นหูกับชื่อนี้ว่าเป็นบทประพันธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่น้อยคนนักจะทราบประวัติที่ยาวนานของบทละครเรื่องนี้ แต่โดยแรกเริ่ม บทละครศกุนตลาแต่งขึ้นโดยกวีชาวอินเดีย นาม กาลิทาส ในระหว่าง 1 ปีก่อนคริสตกาลถึงศตวรรษที่ 4 ด้วยภาษาสันสกฤต  มีเนื้อเรื่องที่กินใจและคำสอนที่น่าจดจำในการดำรงชีวิต   ละครเรื่องนี้จึงเป็นที่นิยม ชื่นชอบและถูกนำมาแสดงบ่อยครั้ง  หลังจากนั้นอีกหนึ่งพันเจ็ดร้อยปี  บทละครเรื่องนี้จึงถูกแปลมาเป็นภาษาอังกฤษ  และบทละครศกุนตลาในรูปแบบภาษาอังกฤษก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ในประเทศเยอรมนี  กวีเอก เกอเธ่ (Goethe) นำมาดัดแปลงและแปลเป็นภาษาเยอรมัน และนักประพันธ์ ฟรานซ์ ชูเบิร์ต เป็นผู้แต่งดนตรีประกอบการเล่าเรื่องในปี 1820  ส่วนในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษและดัดแปลงเป็นบทละครร้องภาษาไทยในช่วงปีพ.ศ. 2453 (1910)
 
“ศกุนตลา”  จึงเปรียบเสมือนตัวเชื่อมทางวัฒนธรรมที่รวมเอากวีเอกของโลกเข้าไว้ด้วยกัน และเพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมระลึกถึงพระอัจฉริยภาพทางวรรณกรรมและศิลปศาสตร์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะหนึ่งในนักประพันธ์เอกของโลก  
 
มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเกอเธ่ (ประเทศเยอรมนี) และศูนย์วัฒนธรรมแห่งอินเดีย (ประเทศอินเดีย) กำหนดจัดการแสดงโอเปร่าเรื่องศกุนตลา บทประพันธ์ของกาลิทาส ในรูปแบบละครร้องแบบโอเปร่าผสมนาฏลีลา โดยการแสดงครั้งนี้นับเป็นการแสดงโอเปร่า (อุปรากร) ศกุนตลาครั้งแรกในประเทศไทยและนับเป็นครั้งที่สองของโลก เนื่องจากบางส่วนของโอเปร่าได้สูญหายไปและได้มีผู้รื้อฟื้นแต่งเติมให้สำเร็จในปี 2010 โดยการเปิดแสดงครั้งแรกที่ Saarbrück Opera (Saarländisches Theatre) ประเทศเยอรมนี
 
เพื่อเป็นการผสานรากเดิมและรวมวัฒนธรรมทั้งสามสายเข้าด้วยกัน  การแสดงครั้งนี้จะประกอบไปด้วย นักประพันธ์ ศาสตร์และศิลป์จาก 3 ประเทศ ได้แก่
ประเทศไทย โดยอันเชิญบางส่วนของบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศกุนตลา เป็นบทบรรยายหลักของเรื่อง คณะนักร้องประสานเสียงจากคณะศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศรัณย์ สืบสันติวงศ์ นักร้องเสียงบาริโทนรับบทฤาษีทุรวาส
ประเทศอินเดีย โดยการนำบทร้องฉบับดั้งเดิมภาษาสันสกฤตของกาลิทาส ประกอบการแสดง และได้รับเกียรติจากนักเต้นภารตะนาฏยัมชื่อดังชาวอินเดีย จานากี รังการจัน (Janaki Rangarajan) มาเป็นนักเต้นหลักในบทศกุนตลา และมีนักร้องหลักเสียงเทนเนอร์ชาวอินเดีย จอน เฮก (John Haque) ร่วมแสดง
ประเทศเยอรมนี โดยใช้เพลงจากโอเปร่าเรื่อง ศกุนตลา ซึ่งประพันธ์โดย ฟรานซ์ ชูเบิร์ต เป็นดนตรีหลัก และนักร้องเสียงโซปราโน่ ลอร่า อิงโก (Laura Incko) ในบท “ศกุนตลา”
 
การแสดงครั้งนี้เป็นการรวมศิลปิน วรรณกรรม และศิลปะจาก 3 ประเทศเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกล่อมภายใต้เรื่อง “ศกุนตลา” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีศิลปินรับเชิญ เดเมียน ไวท์ลี จากประเทศออสเตรเลีย รับบทพระกันทวะ และ วาทยกรรับเชิญ เลสลี สุขะนันธราชา จากประเทศศรีลังกา
 
กำหนดแสดงในวันที่ 3, 4 และ 5 มีนาคม 2559 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เวลา 20:00 น
 
เนื้อเรื่องย่อ
ความเดิม ท้าวทุษยันต์ครองนครหัสดิน พร้อมบริวารออกล่าสัตว์ในป่า เช้าวันหนึ่งเห็นกวางดำถูกพระทัย จึงออกตามกวางจนถึงชายป่าใกล้อาศรมพระกันวะมุนี (พระฤาษี บิดาเลี้ยงศกุนตลา) ฤาษีตนหนึ่งออกมาห้าม ขออย่าได้ทำร้ายกวาง สัตว์ซึ่งหาความผิดมิได้ เก็บลูกศรไว้สังหารศัตรูจะดีกว่า ท้าวทุษยันต์เชื่อฟังและเดินทางไปพักผ่อนที่อาศรมพร้อมฤาษี ในขณะเดียวกันศกุนตลาและเพื่อนสองนางลงมาดูแลสวน ท้าวทุษยันต์มาพบเข้าหลงใหลในความงาม จึงเข้ามาแนะนำตัวว่าเป็นกษัตริย์กรุงหัสดิน ส่วนเพื่อนทั้งสองก็เล่าว่าศกุนตลานั้นเป็นลูกท้าววิศวามิตรและเทพธิดาเมนะกาซึ่งทิ้งไว้ในฤาษีเลี้ยง เมื่อท้าวทุษยันต์ทราบถึงกำเนิดก็ยินดีนักว่านางมีชาติตระกูลสูงส่งสมควรเป็นคู่ควรกษัตริย์ ฝ่ายนางศกุนตลาได้เห็นท้าวทุษยันต์ก็หลงรักเช่นกัน

เมื่อต่างฝ่ายต่างมีใจตรงกันจึงถือเอาประเพณีคนธรรม์เลือกคู่สู่หากันเองได้ก่อนจากกัน ทุษยันต์ให้แหวนแก่นางวงหนึ่งแล้วเสด็จคืนวัง


เหตุร้ายเกิดขึ้นระหว่างที่ศกุนตลายังอยู่อาศรมในป่าและมีครรภ์ ฤาษีตนหนึ่งคือ พระทุรวาสผ่านมาที่อาศรมและไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติ ต้องความกริ้วโกรธว่าถูกเหยียดหยาม ประกาศสาปแช่งให้ผู้ที่นางมาตรหมายเลิกคิดถึงนางดังปลิดทิ้ง แม้จะกล่าวเตือนสักปานใด

เพื่อนทั้งสองต้องขออภัยโทษแทนว่านางป่วยด้วยทั้งตั้งครรภ์มิได้จงใจลบหลู่ ฤาษีก็คลายความโกรธ แต่คำสาปแช่งที่ลั่นไว้แล้วเอาคืนไม่ได้ เพียงได้แต่แก้ให้ว่าเมื่อได้พบทุษยันต์และได้เห็นแหวนที่ได้ให้ไว้จะนึกได้

เวลาผ่านไป พระฤาษีกันทวะมุนีผู้เลี้ยงดูเห็นควรส่งนางศกุนตลาไปให้ท้าวทุษยันต์ที่นครหัสดิน แต่เมื่อถึงเมืองและเข้าเฝ้า ท้าวทุษยันต์จำนางไม่ได้ และปฏิเสธที่จะรับไว้ ศกุณตลาอ้างถึงแหวนที่ให้ไว้แต่ปรากฏว่าแหวนหายไป นางโคตรมีที่เดินทางมาด้วยระลึกได้ว่าเมื่อเดินทางมาถึงศาลเทวันที่ตำบลศะจิเตียรต์นางเห็นนางศกุนตลาลงไปที่แม่น้ำและวักน้ำรดศีรษะเพื่อคลายร้อน แหวนคงหลุดหายไปไม่รู้ตัว

ทุษตันต์ไม่เชื่อและขับไล่นางไป แต่แล้วเกิดเหตุมหัศจรรย์ ท้องฟ้ามืดครึ้ม และเทพธิดาองค์หนึ่งลงมาอุ้มศกุนตลาขึ้นฟ้าไป

ในเวลานั้นชาวประมงผู้หนึ่งนำแหวนวงหนึ่งมาขายที่ตลาดในเมือง เล่าว่าจับปลาเทโพตัวหนึ่งได้จากแม่น้ำ ในท้องปลามีแหวนซึ่งดูจะมีราคาจึงนำมาขาย บังเอิญมีข้าราชบริวารของท้าวทุษยันต์มาเห็นเข้าจึงจำได้ว่าเป็นพระธำรงค์ของเจ้านายตัว จึงจับตัวชายชาวประมงและนำแหวนไปถวายเจ้านาย ชายชาวประมงได้รับเงินรางวัลและถูกปล่อยตัวไป

ทุษยันต์ได้แหวนมาก็รำลึกได้ถึงศกุนตลา ฉบับดั้งเดิม พระอินทร์หาช่องทางช่วยท้าวทุษยันต์โดยเชิญท้าวทุษยันต์มาปราบยักษ์ที่กำเริบกกวนเหล่าเทพในสวรรค์ เมื่อท้าทุษยันต์มาจึงได้พบการนางศกุนตลาและโอรส ส่วนในฉบับที่ต่อเติมใหม่ ข่าวสะพัดไปว่าท้าวทุษยันต์ซึมเศร้าด้วยคิดถึงศกุนตลา เทพธิดาเมนากะมารดาจึงวางแผนส่งภาพเขียนของนางศกุนตลามาให้ท้าวทุษยันต์เพื่อลองใจว่าจำนางศกุนตลาได้จริงหรือไม่ เมื่อท้าวทุษยันต์เห็นภาพเขียนก็เกิดภาพหลอนเห็นนางศกุนตลาอยู่หนทุกแห่งแต่พอเข้าใกล้ก็จางหายไปกลายเป็นนางสนมอื่น ศกุนตลามองเห็นถึงความทุกข์ของทุษยันต์จึงใจอ่อนยกโทษให้และกลับลงมายังนครหัสดิน

RECENTLY
VIEWED