ไทยแลนด์ ทิคเก็ต เซ็นเตอร์ - เจ้าแห่งธุรกิจตั๋ว Mission 2 ไทยทิคเก็ตฯ

ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ หลังสำเร็จขั้นแรกกับการจับเอ็นเตอร์เทนเมนท์จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เปิดมิชชั่นที่ 2 วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการจองตั๋ว ชิมลางบัตรโดยสารรถ บขส. พร้อมวางรากฐานระบบการจัดการ หวังส่งระบบโกอินเตอร์

               ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ หลังสำเร็จขั้นแรกกับการจับเอ็นเตอร์เทนเมนท์จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เปิดมิชชั่นที่ 2 วางเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการจองตั๋ว ชิมลางบัตรโดยสารรถ บขส. พร้อมวางรากฐานระบบการจัดการ หวังส่งระบบโกอินเตอร์

การบริการรับจองตั๋วถือว่าเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในเมืองไทย ซึ่งแบรนด์ของ ไทยทิคเก็ต เมเจอร์ ถือว่าเป็นชื่อแรกๆ ที่คนไทยจะนึกถึงเมื่อต้องการจองบัตรคอนเสิร์ต เนื่องจากถือว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกที่รุกธุรกิจนี้อย่างจริงจัง จนกล่าวได้ว่าเป็นเจ้าตลาดของการจำหน่ายตั๋วเอ็นเตอร์เทนเมนท์เมืองไทยอย่าง แท้จริง
 
แต่นั่นคงไม่ทำให้องค์กรหยุดอยู่เพียงแค่การเป็นผู้นำของ ตั๋วธุรกิจบันเทิง และกีฬาเท่านั้น เพราะวิสัยทัศน์ของผู้บริหารไทยทิคเก็ตฯ ต้องการที่จะขยายอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่กว่านั้น
 
นี่อาจจะเป็นครั้ง แรกๆ ที่นายโชคชัย เอี่ยมฤทธิไกร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำกัด ออกมาให้สัมภาษณ์พิเศษกับ"สื่อมวลชน"ถึงยุทธศาสตร์ในการดำเนินการธุรกิจ อย่างหมดเปลือก  และ "บิสิเนสไทย"ได้รับโอกาสนั้นแต่เพียงฉบับเดียว
 
โดย เฉพาะวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของไทยทิคเก็ต  ไม่ใช่แค่เพียง ผู้จัดจำหน่ายตั๋วคอนเสิร์ต หรือ การแข่งขันกีฬาเท่านั้น แต่พวกเขากำลังจะก้าวไปสู่ การเป็นศูนย์กลางของการจัดจำหน่ายตั๋วทุกประเภททั้งในเมืองไทย และอินโดจีนในอนาคตอันใกล้    

 

การติดปีกจากเมเจอร์
 
หลังจากปี 2549 ที่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป  ได้เข้าซื้อ หุ้น 40% หรือคิดเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท ในบริษัท ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์ ดอทคอม เมื่อครั้งยังเป็นบริษัทลูกของบีอีซี- เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ดำเนินธุรกิจขายตั๋ว อาทิ คอนเสิร์ต การแสดง กีฬา จนเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
 
การซื้อหุ้นของกลุ่มเมเจอร์ฯในครั้งนั้น แม้เม็ดเงินที่เกิดขึ้นจะไม่ได้ลงมาสู่บริษัทโดยตรง หากแต่ว่า เมื่อผนวกรวมกับเครือข่ายของเมเจอร์ กรุ๊ป ที่มีทั่งโรงภาพยนตร์ ,โบว์ลิ่ง,ร้านแมคโดนัลด์ ก็เหมือนกับติดปีกให้ไทยทิคเก็ตฯ กระโจนไปข้างหน้าในอัตราเร่งที่รวดเร็วกว่าเดิม 
 
ไทยทิคเก็ตฯมี ส่วนแบ่งการตลาดในธุรกิจรับจองตั๋วกว่า 90% ก่อนหน้าที่ผ่านมา พวกเขาเคยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดถึง 95% เนื่องจากมีคู่แข่งใหม่ๆ อย่าง ทรู และ โทเทิ่ล เรสเซอร์เวชั่น ในเครือ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด  โดยมูลค่ารวมของธุรกิจรับจองตั๋วในปัจจุบันประมาณ 1,000 ล้านบาท
 
"ขณะนี้หากถามผู้บริโภคว่าหากต้องการบัตรเกี่ยวกับ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ทั้งหลายจะหาได้ที่ไหน ทุกคนต่างนึกถึงเราเป็นที่แรก แต่บางอย่างที่เราไม่ได้ขายบัตรบางคนก็ไม่รู้เลยว่าจะทำยังไงต่อ เพราะทุกคนคิดว่าทุกคอนเสริตต้องที่เราที่เดียวเท่านั้น จากการวัดผลตรงนี้ถือว่าเราประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์เป็นอย่าง มาก"โชคชัย เล่าถึงความสำเร็จของแบรนด์ไทยทิคเก็ตฯ

Mission 2
 
แม้ว่าธุรกิจเกี่ยวกับเอ็นเตอร์เท นเมนท์จะสร้างความสำเร็จให้กับไทยทิคเก็ตฯได้ขึ้นหนึ่ง แต่ด้วยปัจจัยการเติบโตที่ไม่แน่นอนของแต่ละปีของธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ทำให้ไทยทิคเก็ตฯเริ่มจะทบทวนแผนงานที่ผ่านมา พร้อมกับมองเห็นช่องทางของการสร้างรายได้อื่นๆ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจ
 
 เขา อธิบายว่า ปัจจุบันอัตราการเติบโตของยอดขายขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและจำนวนความถี่ของการ จัดอีเว้นท์ คอนเสิร์ต หรือการแสดงละคร ในแต่ละปี ซึ่งจะเป็นการเติบโตที่ไม่แน่นอน ยกตัวอย่างเช่น หากปีไหนที่มีคอนเสริตใหญ่ๆ จำนวนมาก จะทำให้การเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่นปีที่ผ่านมา มีละครเวที เรื่องใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟ้าจรดทราย บัลลังเมฆ ลูกคุณหลวง ชายกลาง และแคท รวมถึงฟุตบอลเอเชียคัพ ทำให้มีการเติบโตสูงถึง 100%
 
 หลังจากที่ทบทวนแผนงานในระยะยาว โชคชัย และทีมบริหาร ได้วางมิชชั่นที่ 2 ของไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ไว้ว่า จะก้าวขึ้นสู่ ไทยแลนด์ ทิคเก็ต เซ็นเตอร์ คือ จะมีตั๋วทุกอย่างที่ผู้บริโภคต้องการ ไม่เฉพาะสำหรับเอ็นเตอร์เทนเมนท์เท่านั้น แต่จะครอบคลุมทุกอย่างของความต้องการที่ผู้บริโภคมี
 
"บริษัทประสบ ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี ในการสร้างบริษัทให้เป็น ไทยแลนด์ ทิคเก็ต เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ที่เน้นจำหน่ายบัตรเกี่ยวกับไลฟ์เอ็นเตอร์เทนเมนท์ในประเทศไทย จนปัจจุบันถือว่าเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง วันนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะเดินก้าวต่อไป"  ผู้จัดการทั่วไป ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ประกาศ

 

อำนาจแห่งเครือข่าย
 
จุดแข็งของไทยทิคเก็ตฯ เมื่อเทียบกับคู่แข่งคือ ช่องทางจำหน่าย ซึ่งไทยทิคเก็ตฯ มีจุดจำหน่ายที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคทั่วถึงและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทางเคาน์เตอร์ ที่ปัจจุบันมี 92 แห่ง , เวบไซต์ www.thaiticketmajor.com  ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 200,000 คน , call center 02-262-3456 , wap ,TTM Theatre Outlet และ ไปรษณีย์ไทย
 
นอก จากจุดจำหน่ายแล้ว พันธมิตรที่ร่วมธุรกิจด้วยไม่ว่าจะเป็น เมเจอร์,เซ็นทรัล ,ร้านในเครือข่ายเอไอเอส รวมถึงบริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ต่างๆ ถือว่าเป็นจุดได้เปรียบ เนื่องจากหากมีการเซ็นสัญญากันพันธมิตรแล้ว จะมีการจำกัดว่าจะต้องผูกขาดกับไทยทิคเก็ตเท่านั้น ทำให้คู่แข่งอื่นๆ ที่เข้ามาในตลาดไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้โดยตรง
 
จากการเติบโตและ การแข่งขันของธุรกิจรับจองตั๋วที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ยิ่งทำให้ไทยทิคเก็ตต้องพยายามขยายตัวด้านธุรกิจทั้งความหลากหลายของบริการ และการสร้างยอดรายได้อย่างต่อเนื่องให้กับธุรกิจ นอกจากการจับกลุ่มผู้บริโภค กลุ่มเอถึงซีแล้ว ล่าสุดไทยทิคเก็จยังมีแผนงานที่จะจับกลุ่มซีลงมา
 
ไม่ว่าจะเป็นการ จองตั๋วโดยสารบขส. ซึ่งเริ่มทดลองทำมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2550 ที่ผ่านมา โดยได้ลงทุนงบการตลาดไป 30 ล้านบาท  และพบว่าได้รับการตอบรับดีมาก โดยเฉพาะช่วงสงกรานต์ของปีที่ผ่านมามีการเติบโตของการจองตั๋วโดยสารกว่า 150% ล่าสุดยังจะมีการพัฒนาระบบให้สามารถจองตั๋วหนังผ่านทางไทยทิคเก็ตได้อีกด้วย

โกอินเตอร์
 
แน่นอนว่า การจองตั๋วรถบขส. ถือเป็นจุดเริ่มต้นเท่านั้น ในการขยายธุรกิจเพื่อก้าวสู่ "เจ้าแห่งธุรกิจตั๋ว" เพราะยังมีช่องว่างในตลาดต่างๆอีกมากมายที่โชคชัย และทีมบริหารกำลังศึกษาและวางแผนที่จะเข้าไปเจาะตลาด ไม่ว่าจะเป็น ตั๋วภาพยนตร์ ,สายการบิน,โรงแรม ,รถไฟ ฯลฯ
 
"หลังจากที่ไทยทิค เก็ตได้พาร์ทเนอร์ที่ดีๆ ทำให้เรามีแผนที่จะทำการพัฒนาระบบให้สามารถจองตั๋วชมภาพยนต์ของเครือเมเจอร์ ผ่านทางไทยทิคเก็ตฯได้ด้วย ขณะนี้อยู่ในช่วงของการศึกษาระบบ และคาดว่าอีกไม่นานจะสามารถเปิดบริการนี้ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การจองตั๋วสายการบิน,โรงแรม  ก็กำลังดำเนินการอยู่"
 
โชค ชัย บอกว่า นอกจากการทำธุรกิจในประเทศไทยแล้ว ยังมีการขายระบบการจัดการการจองตั๋วให้กับต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเคยไปทำที่ฮ่องกง ในคอนเสิร์ตของจางเซี๊ยะโหว่ และยังมีประเทศมาเลเซียที่เข้าไปวางระบบในการจำหน่ายตั๋วอีเวนท์ และคอนเสิร์ตให้กับบริษัทที่สนใจอีกด้วย
 
"เรามั่นใจ ของเราดี เราเลยต้องไป ไม่งั้นก็อุดอู้อยู่อย่างนี้ จึงได้พยายามพัฒนาระบบเพื่อไปขายยังต่างประเทศเพื่อนบ้านในละแวกนี้ให้ได้ ทั้งหมด นอกจากนี้ทางไทยทิคเก็ตฯก็จะพยายามขยายบริการต่างๆ ให้ครอบคุลม ความได้เปรียบของเราคือเราทำก่อน และมีพันธมิตรที่ดี ดังนั้นความสำเร็จที่เราตั้งใจไว้ก็ไม่น่าจะที่เป็นไปไม่ได้" โชคชัย ทิ้งท้าย

เเท็กที่เกี่ยวข้อง :