รู้จัก โรคแพนิค (Panic) หนึ่งในโรคจิตเวชที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

ไลฟ์สไตล์
รู้จัก โรคแพนิค (Panic) หนึ่งในโรคจิตเวชที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

พาไปรู้จัก โรคแพนิค (Panic) หนึ่งในกลุ่มของโรคจิตเวชที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ก่อนจะสายเกินไป

โรคแพนิค หรือ Panic คือ โรคทางด้านจิตใจชนิดหนึ่ง โดยผู้ป่วยจะมีอาการที่เรียกว่า panic attack  ซึ่งอธิบายอาการทางด้านร่างกาย ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้นจนถึงผู่ใหญ่ตอนปลาย
 
อาการของโรคทางด้านร่างกาย คือ  จะมีเหงื่อออก ใจสั่น มือเท้าชา ตัวเย็น คลื่นไส้ มวนท้อง ปวดหัว ปวดตามร่างกายบางคนอาจมีอาการทางด้านอารมณ์-ความคิด เช่น กลัวว่าตัวเองจะเสียชีวิตหรือเป็นอะไรที่ร้ายแรง รู้สึกควบคุมตนเองไม่ได้ ไม่กล้าออกไปไหน ต้องมีผู้อื่นไปด้วยเสมอ เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนต้นจนถึงผู่ใหญ่ตอนปลาย ร้อยละ 3 และพบในเพศหญิงมากกว่าชายประมาณ 2 ต่อ 1

โรคแพนิค (Panic)
 
สาเหตุของโรคนี้ เกิดจากผู้ป่วยอาจจะมีความวิตกกังวลหรือโรควิตกกังวลอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือมีลักษณะของระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานเร็วหรือไวกว่าคนปกติทั่วไป และส่งผลให้แสดงออกทางกายภาพดังเช่นอาการที่กล่าวมาข้างต้น
 
ทั้งนี้ วิธีดูแลตัวเอง ด้วยการพยายามคุมสติของตนเมื่อมีอาการ ซึ่งหากมีสติและรู้เท่าทันความวิตกกังวล ความกลัวและอาการต่างๆ ได้ ก็ช่วยในการรักษาด้านอื่นๆ ได้ดีขึ้น หรือใช้วิธีการบอกกับตัวเองว่า สิ่งที่เป็นนั้นเกิดมาหลายครั้งแล้วแต่ไม่เกิดอันตรายร้ายแรง นอกจากนั้นควรฝึกการหายใจและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

แพนิค
 
 
ด้านผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ก็มีส่วนในการช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก โดยเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็นว่าไม่ได้เกิดจากการแกล้งทำหรือเรียกร้องความสนใจ เข้าใจว่าเมื่อมีอาการผู้ป่วยจะกลัวและวิตกกังวลมาก การให้กำลังใจและช่วยให้ผู้ป่วยมีสติจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่หากไม่ดีขึ้นควรพาไปพบแพทย์ทันที
 

ขอบคุณข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล