เผยข้อมูล 13 โรคติดต่ออันตราย ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

ไลฟ์สไตล์
เผยข้อมูล 13 โรคติดต่ออันตราย ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

เผยข้อมูล 13 โรคติดต่ออันตราย ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย พร้อมวางแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์โรค

โรคติดต่ออันตราย เป็นโรคที่มีอยู่เดิมในประเทศไทย และส่วนหนึ่งมาจากการได้รับเชื้อจาก สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง หรือคนก็ได้ ซึ่งสามารถลอดผ่านข้ามประเทศ โดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และตามพรมแดนต่างๆ 
 
ซึ่งโรคติดต่ออันตรายที่องค์กรเกี่ยวข้องและคนไทยควรเฝ้าระวัง มีทั้งหมด 13 โรค ดังนี้...
 
1.กาฬโรค 

2.ไข้ทรพิษ 

3.ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก 

4.ไข้เวสต์ไนล์ 

5.ไข้เหลือง 

6.โรคไข้ลาสซา 

 
 
โรคติดต่ออันตราย

7.โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์  

8.โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก 

9. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา 

10.โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา 

11.โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส

12.โรคทางเดินหายใจตะวัน ออกกลาง หรือโรคเมอร์ส  

13.วัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก 
 
ทั้งนี้ ทางรัฐบาล โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแนวทางรับมือกับสถานการณ์โรคไว้ 7 มาตรการ ดังนี้...
 
1. ติดตามสถานการณ์และประสานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลกอย่างใกล้ชิด 
 
2. ติดตามเฝ้าระวังคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคทั้งที่ด่านควบคุมโรคที่สนามบิน ด่านทางน้ำและด่านพรมแดนทางบก เช่น ผู้เดินทางที่มาจากเขตติดโรคไข้เหลืองต้องได้รับวัคซีนป้องกันไข้เหลืองก่อนเดินทางเข้ามาในประเทศ และต้องแสดงเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนป้องกันไข้เหลือง ซึ่งเอกสารรับรองนี้จะมีอายุการใช้บังคับตลอดชีพของผู้เดินทาง 
 
3. เตรียมความพร้อมการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 
 
โรคติดต่ออันตราย
 
4. เตรียมพร้อมด้านการรักษาพยาบาล  กรณีมีผู้ป่วยที่ออกจากด่านแล้วไปรักษาตัวที่สถานพยาบาล หากสงสัยว่าเป็นโรคระบาดอันตรายสถานพยาบาลนั้นจะต้องแจ้ง และส่งต่อไปที่โรงพยาบาลทั่วไป  โรงพยาบาลศูนย์  ที่มีห้องแยกโรครองรับ และส่งต่อไปยังสถาบันบำราศนราดูรซึ่งเป็นสถาบันโรคติดต่อที่มีการตรวจรักษาและมีห้องแยกโรคที่มีมาตรฐานระดับประเทศ 
 
5. มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเข้าใจ แนะนำผู้เดินทางที่ผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้เข้าใจตรงกันและถูกต้องไม่ให้เชื่อข่าวลือ  
 
6. เปิดศูนย์ปฏิบัติการณ์ภาวะฉุกเฉินด้านโรคระบาดเพื่อตรวจสอบสถานการณ์ ประสานงาน สั่งการ ป้องกัน ควบคุมโรค 
 
7. มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสถานการณ์และปรับปรุง มาตรการต่าง ๆ ที่วางเอาไว้ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
 
นอกจากนี้ การเฝ้าระวังระดับพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) จะคอยสังเกตุอาการและรายงานต่อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออีกช่องทางคือ การแจ้งมาที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 มีหน้าที่ในการประกาศ ชื่อ อาการสำคัญและสถานที่ที่มีการระบาดของโรค และประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ของโรคสงบลง

 
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข