ฝนดาวตกที่น่าติดตาม และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ในปี 2017

กินเที่ยว
ฝนดาวตกที่น่าติดตาม และปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ในปี 2017

ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ดูเหมือนจะไกลตัว แต่กลับอยู่ในความสนใจของเราเสมอ

 

ปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ดูเหมือนจะไกลตัว แต่กลับอยู่ในความสนใจของเราเสมอ โดยเฉพาะ ปรากฏการณ์ฝนดาวตก (Meteor Shower) ดังนั้น สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จึงรวบรวมเอา ฝนดาวตกที่น่าติดตามในปี 2560 นี้ มาให้ผู้ที่สนใจได้ติดตามกันค่ะ


 

นอกจากนี้ยังมี ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ ในปี 2017 มาให้ติดตามกันอีกด้วย
 
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อกับดวงจันทร์ยังคงน่าติดตามต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว ดวงจันทร์ในช่วงขึ้นอยู่ใกล้กับดาวเคราะห์ในช่วงหัวค่ำหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ปรากฏการณ์ลักษณะนี้นิยมเรียกกันว่า “ดาวเคียงเดือน” ในช่วงที่อากาศหนาวและบริเวณขอบฟ้าไม่มีเมฆท้องฟ้าจะทำให้ปรากฏการณ์นี้ดูสวยงามอย่างยิ่ง
 
สำหรับการชมท้องฟ้าในช่วงหัวค่ำ
 
1 มกราคม      ดาวอังคารใกล้ดาวเนปจูน(0.2 องศา)
 
2 มกราคม      ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวศุกร์ (1.5 องศา)
 
3 มกราคม      ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร( 0.3 องศา) และฝนดาวตกควอดดราติดส์
 
13 มกราคม    ดาวศุกร์ใกล้ดาวเนปจูน(0.35 องศา)
 
19 มกราคม    ดาวพุธอยู่ในตำแหน่ง  Greatest Western Elongation เหมาะแก่การชมดาวพุธมากเนื่องจากมี มุมห่างจากดวงอาทิตย์สูงสุด 24.1 องศา ปรากฏบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ ขึ้นจากขอบฟ้า
 
 
ดวงจันทร์ข้างขึ้นสามค่ำอยู่ใกล้กับดาวศุกร์ในวันที่ 2 มกราคม 2560
 
 
1 กุมภาพันธ์    ดวงจันทร์ ดาวอังคาร และดาวศุกร์เรียงตัวเป็นเส้นตรงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก
 
27 กุมภาพันธ์  ดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวยูเรนัส(0.6 องศา) โอกาศดีสำหรับผู้ที่มีกล้องโทรทรรศน์ที่จะสามารถดู ดาวเคราะห์ทั้งสองคู่กัน

 
เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์น้อยมาก แต่เดือนนี้ใจกลางทางช้างเผือกจะกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าตอนรุ่งสางอีกครั้งหลังจากที่หลบไปอยู่ใต้เส้นขอบฟ้าหลายเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่คนที่ต้องการถ่ายภาพทางช้างเผือกรอคอย และในปีนี้ดาวเสาร์ปรากฏเหนือกลุ่มดาวคนยิงธนูหรืออยู่ใกล้ใจกลางทางช้างเผือก โดยจะขึ้นเหนือขอบฟ้าตั้งแต่ช่วงก่อนรุ่งสาง
 
 
ใจกลางกลางทางช้างเผือกกลับมาให้ชมอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์โดยปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า
ภาพโดย นายณนัทธ์  บวร
 
 
2 มีนาคม      ดวงจันทร์เสี้ยวบางอยู่ใกล้กับดาวอังคาร(4.5 องศา) ปรากฏทางทิศตะวันตกหลังจากดวง อาทิตย์ตกลับขอบฟ้า
 
20 มีนาคม    วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน
 

เดือนมีนาคมเป็นเดือนสุดท้ายที่จะมองเห็นดาวศุกร์ในช่วงหัวค่ำเพราะในวันที่ 25 มีนาคม ดาวศุกร์จะเคลื่อนผ่านตำแหน่งร่วมทิศวงในและจะปรากฏในช่วงเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นในเดือนถัดไป และเป็นช่วงเวลาที่ดาวพฤหัสบดีเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ

 
1 เมษายน    ดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้กลับดาวอัลดีบาราน(0.3 องศา) ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดของกลุ่มดาววัว หรือราศีพฤษภ
 
8 เมษายน    ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จะสามารถเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้า ตลอดทั้งคืน
 
22 เมษายน  ฝนดาวตกไลริด 
 
24 เมษายน  ดวงจันทร์ข้างแรม 13 ค่ำเคียงคู่ดาวศุกร์ (5.1 องศา) ปรากฏเหนือท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 
 
27 เมษายน  ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับประเทศไทย(กรุงเทพมหานคร)
 
 
ในวันทีดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่ใด เงาที่ปรากฏบนพื้นจะสั้นที่สุด
 
 
การกลับมาประจำท้องฟ้าช่วงหัวคำ่ของดาวพฤหับดี เข้ามาเพิ่มสีสันการชมท้องฟ้าแทนที่ดาวศุกร์ได้พอดี 
 
 
ภาพดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 0.7 เมตร ทำให้เห็นรายละเอียดของชั้นบรรยายกาศของดาวพฤหัสบดี
และในปีนี้ดาวพฤหัสบดีจะกลับมาสู่ช่วงที่เหมาะกับการถ่ายภาพอีกครั้ง
 
 
5 พฤษภาคม      ฝนดาวตกอีต้า-อควอลิดส์ 
 
18 พฤษภาคม    ดาวพุธอยู่ในตำแหน่ง Greatest Western Elongation ปรากฏตอนรุ่งสางทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
 
22 พฤษภาคม    ดวงจันทร์อยู่ใกล้กับดาวศุกร์(2.5 องศา) ปรากฏตอนรุ่งสางทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
 
24 พฤษภาคม    ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพุธ(1.7องศา)ปรากฏตอนรุ่งสางทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
 
3 มิถุนายน          ดาวศุกร์อยู่ในตำแหน่ง Greatest Western Elongation และอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสสามารถมองหา ดาวศุกร์ได้ตอนเช้ามืดก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น
 
15 มิถุนายน        ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งตรงข้างกับดวงอาทิตย์ สามารถดูดาวดาวเสาร์ได้ตลอดทั้งคืนฉลอง การกลับมาอยู่ท้องฟ้าช่วงหัวค่ำ
 
 
วงแหวนดาวเสาร์สามารถมองเห็นได้ผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่นๆทำให้ดาวเสาร์มีชื่อเรียกเล่นๆ ราชาแห่งวงแหวน
 
 
21 มิถุนายน      วันครีษมายัน (Summer Solstice) กลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี
 
20 กรกฏาคม     ดวงจันทร์บังดาวอัลดีบารัน เวลา 05:14 น.
 
25 กรกฏาคม     ดวงจันทร์บังดาวเรกูรัส(กลุ่มดาวสิงโต) เห็นได้เฉพาะบางจังหวัดในภาคใต้ของประเทศ
 
30 กรกฏาคม    ดาวพุธอยู่ในตำแหน่ง Greatest Eastern Elongation มีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ 27 องศา เป็นช่วงที่เหมาะกับการดูดาวพุธ สามารถมองเห็นได้ทางทิศตะวันตกหลังจากดวงอาทิตย์ลับ ขอบฟ้า
 
30 กรกฏาคม      ฝนดาวตกเดลต้า ควอริดส์ อัตราการตกประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง
 
7 สิงหาคม         จันทรุปราคาบางส่วน เริ่มเต้นปรากฏการณ์ 22:50 น. ตามเวลาประเทศไทย
 
 
จันทรุปราคาบางส่วนจะคล้ายกับจันทรุปราคาเต็มดวง (8 ตุลาคม 2557)
แตกต่างกันตรงที่ดวงจันทร์จะไม่เข้าไปอยู่ในเงาของโลกทั้งหมด ทำให้เห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเพียงช่วงเวลาสั้นๆ
 
 
 
13 สิงหาคม      ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ อัตราการตก 100 ดวงต่อชั่วโมง
 
25 สิงหาคม      ดวงจันทร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี
 
23 กันยายน      วันศารทวิษุวัตช่วงเวลากลางวันและกลางคืนนานเท่ากัน
 
6 ตุลาคม           ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคาร(0.2 องศา) สามารถดูในช่วงเวลาสั้นๆก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบ ฟ้า
 
16 ตุลาคม         ดาวเสาร์เอียงวงแหวนทำมุมโลกมากที่สุดในรอบ 14 ปี (นับตั้งแต่ปี 2546)
 
18 ตุลาคม         ดวงจันทร์ใกล้ดาวศุกร์ สามารถเห็นได้ทางทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น  
 
21 ตุลาคม         ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ อัตราการตก 25 ดวงต่อชั่วโมง
 
5 พฤศจิกายน    ฝนดาวตกทอริดส์ใต้ อัตราการตก 5 ดวงต่อชั่วโมง
 
12 พฤศจิกายน  ฝนดาวตกทอริดส์เหนือ อัตราการตก 5 ดวงต่อชั่วโมง
 
17 พฤศจิกายน  ฝนดาวตกลีโอนิดส์ อัตราการตก 15 ดวงต่อชั่วโมง
 
3 ธันวาคม          ซุปเปอร์มูน และดวงจันทร์อยู่ใกล้กับดาวอัลดีบาแรน(0.5องศา)
 
 
ซุปเปอร์มูนในฤดูหนาวจะกลับมาอีกครั้งในปี 2017

 
14 ธันวาคม     ฝนดาวตกเจมินิดส์อัตราการตก 120ดวงต่อชั่วโมง
 

ฝนดาวตกเจมินิดส์ ภาพโดย นายปวีณ   อารยางกูร
 
 
22 ธันวาคม     ฝนดาวตกเออร์ซิดส์อัราการตก 10 ดวงต่อชั่วโมง


เนื้อหาและภาพประกอบโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ