10 เพลงดังในอดีตของเอลตัน จอห์น ที่เกือบจะถูกลืมเลือน

บันเทิง
10 เพลงดังในอดีตของเอลตัน จอห์น ที่เกือบจะถูกลืมเลือน

Elton John All The Hits Tour Live in Bangkok พบกับทุกบทเพลงที่คุณอยากฟัง Can You Feel The Love Tonight, Your Song, Sorry Seems To Be The Hardest Word, Rocket Man ฯลฯ


เพลงฮิตตลอดกาลของ เอลตัน จอห์น (Elton John) ไม่ได้มีแค่ แคน ยู ฟีล เดอะ เลิฟ ทูไนต์ (Can You Feel The Love Tonight), ยัวร์ ซอง (Your Song), ซอรี่ ซีม ทู บี เดอะ ฮาร์เดสต์ เวิร์ด (Sorry Seems To Be The Hardest Word), ร็อคเก็ต แมน (Rocket Man), เบนนี่ แอนด์ เดอะ เจ็ต (Bennie And The Jets), ด้อนต์ เล็ต เดอะ ซัน โก ดาวน์ ออน มี (Don’t Let The Sun Go Down On Me), แคนเดิล อิน เดอะ วินด์ (Candle In The Wind) ครอคโคไดล์ ร็อค (Crocodile Rock), แอม สติล สแตนดิ้ง (I’m Still Standing), แซด ซอง (Sad Song)  ซึ่งเพลงเหล่านี้แม้จะถูกนำมาเล่นในคอนเสิร์ตกี่ครั้ง แฟนเพลงทั่วโลกก็ยังคงฟังอย่างเคลิบเคลิ้มหลงใหลไม่เคยเปลี่ยน

แต่แฟนตัวจริงของเอลตัน จอห์น รู้ดีว่ายังมีเพลงเพราะๆ อีกมากมายหลายเพลงที่ศิลปินอัจฉริยะท่านนี้ ได้สร้างสรรค์เอาไว้  และแทบจะไม่เคยถูกนำไปแสดงในคอนเสิร์ตเลย ซึ่งนิตยสารโรลลิ่งสโตน (Rolling Stone) ได้ทำการสอบถามกับบรรดาแฟนตัวจริงของเอลตัน จอห์น เพื่อสำรวจ 10 เพลง ที่พวกเขาทั้งรักและคิดถึง และหวังว่าจะได้ฟังท่านเซอร์นำมาแสดงให้ฟังกันสดๆอีกครั้ง    

อับดับที่ 10 เพลงเทค มี ทู เดอะ ไพลอต (Take me to the Pilot)



เพลงนี้เขียนเนื้อโดยเบอร์นี่ เทาปิน (Bernie Taupin) นักแต่งเพลงคู่บุญของเอลตัน จอห์น และตัวเอลตันเป็นผู้แต่งทำนอง และถูกปล่อยออกมาเมื่อปีค.ศ.1970 โดยอยู่หน้าบีของอัลบั้มยัวร์ ซอง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเพลงฮิตสุดๆ เบอร์นี่เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความหมายของเพลงนี้ว่า เขาไม่แน่จะว่ามันหมายถึงอะไร มันเป็นเหมือนบทกวีที่หลั่งไหลออกมาเองระหว่างที่กำลังแต่งเพลง และมันก็ออกมาดี  แม้จะยากในการตีความหมาย อย่างไรก็ตามความหมายของเพลงนั้นก็ขึ้นอยู่กับคนฟังว่าต้องการเข้าถึงแค่ไหน แต่สำหรับเขามันไม่ได้มีความลึกซึ้งที่ใหญ่โตนัก แต่มันคือสิ่งแรกสิ่งเดียวที่จะต้องนึกถึง

อันดับ 9 เพลง ไอ ฟีล ไลก์ อะ บูลเล็ต (อิน เดอะ กัน ออฟ โรเบิร์ต ฟอร์ด) (I Feel Like a Bullet (in the Gun of Robert Ford)
 

ในปีค.ศ.1971 เป็นช่วงที่เบอร์นี่ เทาปิน กำลังตกหลุมรักแฟนสาวแม็กซีน ไฟเบลแมน (Maxine Feibelman) อย่างหัวปักหัวปำ เขาได้เขียนเพลงไทนี่ แดนซ์ (Tiny Dance) ซึ่งเนื้อหาพูดถึงความรักของเขาที่มีให้กับเธอ และเมื่อชีวิตแต่งงานของทั้งคู่จบลง ในปีค.ศ.1976 เธอได้กลายเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงไอ ฟีล ไลก์ อะ บูลเล็ต (อิน เดอะ กัน ออฟ โรเบิร์ต ฟอร์ด) ไม่มีการโทษหรือกล่าวหากันในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เขาเปรียบเทียบตัวเองกับกระสุนร้ายแรงที่ยิงเข้ามาจากด้านหลังของเจสซี่ เจมส์ (Jesse James) "ฉันตกต่ำ เหมือนกับฆาตกรที่ถูกจ้างไปฆ่าคน" "คุณรู้ว่าฉันเย็นชา เท่าดาบที่ถูกจ้างมา / ฉันละอายใจ / เราไม่สามารถแก้ไขมันได้?"

แฟนเพลงบางคนอาจเกิดข้อโต้แย้งที่เพลงนี้มาอยู่รวมในรายการเพลงไม่ฮิตในเมื่อตอนที่เพลงนี้ถูกปล่อยออกมาก็ขึ้นสู่อันดับ 14 บนบิลบอร์ด ฮอต 100 แต่ผ่านมานานมากแล้วที่เราไม่ได้ยินเพลงนี้ และเอลตัน จอห์นเองก็ไม่ได้เล่นเพลงนี้ในคอนเสิร์ตอีกเลย ตั้งแต่ตั้งแต่ปีค.ศ.1979

อันดับ 8 เพลงออล เดอะ เกิร์ลส์ เลิฟ อลิซ (All the Girls Love Alice)



เพลงนี้เปรียบดั่งภาพยนตร์แนวเหนือจริงที่อยู่ในรูปแบบของบทเพลง เล่าเรื่องราวของโสเภณีสาววัย 16 ที่มีความสนใจในเพศตรงข้ามแต่กลับต้องหลับนอนกับหญิงสาวที่อายุมากกว่าจนกระทั่งตัดสินใจฆ่าตัวตายในที่สุด ถือเป็นประเด็นที่รุนแรงสำหรับเพลงป๊อบและเป็นเพลงร็อคที่ดีที่สุดเพลงหนึ่งของอัลบั้มนี้ และในช่วงหลังนี้ยังเป็นหนึ่งในบรรดาเพลงไม่ดังที่เอลตัน จอห์นหยิบมาเล่นบ่อยๆ ในคอนเสิร์ตด้วย

อันดับ 7 เพลงบลูส์ ฟอร์ มาย เบบี้ แอนด์ มี (Blues for My Baby and Me)



เพลงรักที่เนื้อหาพูดถึง ผู้ชายคนหนึ่งที่หว่านล้อมหญิงสาวที่เขารักให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน “มือของเธอสั่นเทา ดวงตาเบิกกว้างด้วยความประหลาดใจ ที่รักในร่มนี้อุณหภูมิเก้าสิบองศา และไม่มีเมฆสักก้อนบนฟ้านั่น ฉันเรียกเธอดั่งลูก บอกเธอว่า ‘ที่รัก นี่คือเกมของเรา’” (Saw your hands trembling. / Your eyes opened in surprise. It's ninety in the shade, babe. / And there ain't a cloud in the sky. / I called you my child / Said, 'Honey, now this is our game) แต่เพลงจากอัลบั้มด้อนต์ ชู้ต มี แอม ออนลี่ เดอะ เปียโน เพลเยอร์ (Don't Shoot Me I'm Only the Piano Player) เพลงนี้กลับไม่ได้แม้แต่ปล่อยออกมาเป็นซิงเกิล แถมยังถูกเพลงแดเนียล (Daniel) และครอคโคไดล์ ร็อคกลบจนหมด ทั้งที่เพลงนี้ได้พอล บัคมาสเตอร์ (Paul Buckmaster) มาเรียบเรียงเครื่องสายให้อย่างงดงาม เอลตัน จอห์นแทบจะไม่เคยเล่นเพลงนี้ในคอนเสิร์ตเลยแม้แต่ครั้งเดียว

อันดับที่ 6 เพลงฮาร์โมนี่ (Harmony)



ในอีกจักรวาลหนึ่ง เอลตัน จอห์นปล่อยเพลงฮาร์โมนี่ออกมาเป็นซิงเกิลลำดับที่สี่และเป็นซิงเกิลลำดับสุดท้ายจากอัลบั้มกู๊ดบาย เยลโลว์ บริค โรด และกลายเป็นเพลงฮิตที่ถูกเปิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าบนสถานีวิทยุเพลงร็อคคลาสสิค เอลตัน จอห์นยังเล่นมันในทุกๆ การแสดงและผู้ฟังก็ร้องตามไปทุกถ้อยคำจนจบเพลง แต่ทว่าในจักรวาลของเรานั้น เอลตัน จอห์นทำงานอย่างรวดเร็วและหนักหน่วงในช่วงปีค.ศ.1970 เขาทำอัลบั้มใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วเมื่อตอนที่ซิงเกิลที่สามของอัลบั้มอย่างเพลงเบนนี่ แอนด์ เดอะ เจ็ตส์ตกอันดับจากชาร์ตเพลง ด้วยเหตุนี้เองชะตากรรมของเพลงฮาร์โมนี่ บทเพลงสุดท้ายอันอิ่มเอมของอัลบั้มกู๊ดบาย เยลโลว์ บริค โรด จึงเป็นได้เพียงเพลงสุดที่รักของเหล่าแฟนพันธุ์แท้เท่านั้น

อันดับที่ 5 เพลงทัมเบิ้ลวี้ด คอนเน็คชั่น (Tumbleweed Connection)



อัลบั้มแอลพีอัลบั้มที่สามของเอลตัน จอห์นที่ออกมาในปีค.ศ.1970 ไม่เพียงไม่มีเพลงฮิตสักเพลงบนชาร์ต แต่ยังสร้างความผิดหวังให้หลายๆ คนเมื่อเทียบกับอัลบั้มก่อนหน้าอย่างเอลตัน จอห์น (Elton John) แต่ปัจจุบัน หลายคนมองว่ามันเป็นความสำเร็จสูงสุดของเอลตัน จอห์น อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่วางคอนเซปต์ไว้อย่างหลวมๆ เกี่ยวกับยุคโอลด์เวสต์และเขียนขึ้นโดยคนสองคนที่ไม่เคยไปอเมริกามาก่อน แต่อาศัยการฟังเพลงจากอัลบั้มมิวสิค ฟรอม บิ๊ก พิงก์ (Music From Big Pink) และการได้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับคาวบอยมาจำนวนมาก เพลงอโมรีน่า (Amoreena) เป็นเพลงเกี่ยวกับคาวบอยหรือไม่ก็ชาวนาสักคนที่คิดถึงและโหยหาแฟนสาวที่มีชื่อแปลกๆ ว่าอโมรีน่า ทุกวันนี้เพลงนี้เป็นที่รู้จักจากฉากเปิดของภาพยนตร์เรื่องด็อก เดย์ อาฟเตอร์นูน (Dog Day Afternoon) เอลตัน จอห์น ไม่เคยเล่นเพลงนี้อีกเลยตั้งแต่ปีค.ศ.1971

เพลงอันดับที่ 4 แมดแมน อะครอส เดอะ วอเตอร์ (Madman Across the Water)



เอลตัน จอห์นอัดเพลงแมดแมน อะครอส เดอะ วอเตอร์ ร่วมกับเดวิด โบวี่ (David Bowie) และนักกีต้าร์มิค รอนสัน (Mick Ronson) สำหรับอัลบั้มทัมเบิ้ลวี้ด คอนเน็คชั่น แต่สุดท้ายแล้วเพลงนี้กลับต้องรออีกเกือบปีกว่าจะถูกปล่อยออกมาในอัลบั้มแอลพีต่อมาที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้นเอง บทเพลงยาวหกนาทีเพลงนี้ได้พอล บัคมาสเตอร์มาเรียบเรียงดนตรีในส่วนออร์เคสตร้าให้อย่างงดงาม เนื้อเพลงว่าด้วยชายคนหนึ่งที่ถูกกักขังในจิตใจของตนเองและโหยหาการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ด้วยความที่ได้มือคีย์บอร์ดของวงเยส (Yes) อย่างริค เวกแมน (Rick Wakeman) มาเล่นออร์แกนให้ เพลงนี้จึงเป็นหนึ่งในเพลงที่ใกล้เคียงกับเพลงแบบโพรเกรสซีฟร็อคที่สุดของเอลตัน จอห์นด้วย เพลงนี้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างยอดเยี่ยมในคอนเสิร์ตเอลตัน จอห์น ไลฟ์ อิน ออสเตรเลีย (Elton John Live in Australia) และถูกเล่นเป็นประจำในช่วงปีค.ศ.2004 ถึงค.ศ.2012 แต่กลับหายไปในช่วงสามปีให้หลังมานี้

เพลงอันดับที่ 3 ฟิวเนอรัล ฟอร์ อะ เฟรนด์ / เลิฟ ลายส์ บรี้ดดิ้ง (Funeral for a Friend/Love Lies Bleeding)



เอลตัน จอห์นแต่เพลงบรรเลงสุดหลอนที่ชื่อฟิวเนอรัล ฟอร์ อะ เฟรนด์ ตอนที่เขาพยามจินตนาการถึงเพลงแบบที่เขาอยากได้ยินในงานศพตัวเอง เพลงนี้กับเพลงเลิฟ ลายส์ บรีดดิ้งผสมผสานเชื่อมต่อเข้ากันได้อย่างลื่นไหล เขาจึงจับสองเพลงมารวมกันและใช้เป็นเพลงเปิดของอัลบั้มกู๊ดบาย เยลโลว์ บริค โรด เพลงนี้ได้ใจแฟนๆ ที่ชื่นชอบเพลงแนวฮาร์ด-ร็อคซึ่งยังรวมไปถึงสมาชิกวงดรีม เธียร์เตอร์ (Dream Theater) และกันส์ แอนด์ โรสเซส (Guns N’ Roses) อีกด้วย (เราแทบนึกไม่ออกเลยว่าแอกเซล โรส (Axl Rose) จะแต่งเพลงโนเวมเบอร์ เรน (November Rain) ได้อย่างไรถ้าไม่ใช่เพราะอิทธิพลจากเพลงนี้) เพลงฟิวเนอรัลถูกใช้เป็นเพลงเปิดสำหรับคอนเสิร์ตของเอลตัน จอห์นนับครั้งไม่ถ้วน แต่ในฤดูร้อนปีนี้เอลตัน จอห์นกลับเปลี่ยนไปใช้เพลงเดอะ บิตช์ อิส แบ็ค (The Bitch Is Back) แทน

บางคนอาจเห็นต่างว่าเพลงนี้ดังเกินจะอยู่ในรายชื่อเพลงไม่ฮิต เพราะเพลงนี้ถูกเปิดทางคลื่นวิทยุบ่อยๆ ในช่วงปีค.ศ.1970 และตัวเอลตัน จอห์นเองก็เล่นเพลงนี้บ่อยมากจนมันกลายเป็นมาตรฐานหนึ่งของเขา แต่ว่าเพลงนี้ไม่เคยปล่อยออกมาเป็นซิงเกิลและแฟนเพลงทั่วไปอาจไม่เคยรับรู้ถึงการมีอยู่ของมันด้วยซ้ำ แม้จะลังเลแต่สุดท้ายแล้วเราคิดว่า แม้เพียงน้อยนิด แต่เพลงนี้ก็ยังนับเป็นเพลงที่ถูกลืมอยู่ดี

เพลงอันดับที่ 2 ทิคกิ้ง (Ticking)



เพลงนี้ เบอร์นี่และเอลตันแต่งขึ้นหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญในปีค.ศ.1974 ที่เกิดการยิงกันตาย 14 ศพ โดยมือสังหารคือเด็กเงียบๆ ที่มีผลการเรียนดีคนหนึ่งที่เกิดควบคุมตัวเองไม่ได้อีกต่อไป เหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้ไม่ใช่ประเด็นทั่วไปที่ปรากฏในเพลงป๊อปแต่ทั้งสองคนก็แต่งเพลงนี้ได้สำเร็จ เรื่องราวถูกถ่ายทอดออกมาและให้คนหันไปสังเกตเด็กที่เก็บตัวมากขึ้น   เรื่องราวแบบนี้แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นเลยเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่น่าเศร้าที่กลับกลายเป็นเรื่องประจำวันในปัจจุบัน

เพลงอันดับที่ 1 โมนาลิซ่าส์ แอนด์ แมด แฮตเทอร์ส (Mona Lisas and Mad Hatters)



ในปีค.ศ.1972 ช่วงที่เอลตันและเบอร์นี่ได้ทำอัลบั้มฮองกี้ ชาโต้ (Honky Château) พวกเขาได้เดินทางไปอเมริกาในที่สุด และความหลงใหลของพวกเขาที่มีต่อนครนิวยอร์กก็ได้ถ่ายทอดออกมาในเพลงโมนาลิซ่าส์ แอนด์ แมด แฮตเทอร์ส ถึงแม้ว่าเนื้อเพลงจะพูดถึงความยากลำบากของชีวิตในเมืองใหญ่ก็ตาม "ความฝันจะเป็นจริงเมื่อเธอเห็นเศษซากนี้ เธอยืนอยู่สุดขอบขณะที่ผู้คนจะแทงเธอ และขอบคุณพระเจ้าที่ยังมีคนอย่างเธออยู่” (Until you've seen this trash can dream come true, You stand at the edge while people run you through/And I thank the Lord there's people out there like you.)

เอลตัน จอห์น ย้ำอยู่บ่อยๆ ว่าเพลงนี้เป็นเพลงที่เขาชื่นชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง เขาแต่งเพลงที่เป็นภาคต่อของเพลงนี้ไว้ในอัลบั้ม เร็ก สไตรค์ส แบ็ค (Reg Strikes Back) ในปีค.ศ.1988 แต่ก็เหมือนกับภาคต่ออื่นๆ เพลงนี้ทำออกมาได้น่าผิดหวังเอามากๆ

ล่าสุด เพลงเหล่านี้บางเพลงได้ปรากฏอยู่ใน Set list ของทัวร์ล่าสุดของเอลตัน จอห์น  ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่าเราแฟนเพลงชาวไทยอาจมีโอกาสดั้งเพลงเหล่านี้สดๆอีกครั้ง  ในคอนเสิร์ต “เอลตัน จอห์น ออล เดอะ ฮิตส์ ทัวร์ ไลฟ์ อิน แบงค็อก” (Elton John All The Hits Tour Live in Bangkok)  ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายนนี้ ที่ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี