10 เรื่องน่ารู้ เมื่อถึงวันลอยกระทง

ไลฟ์สไตล์
10 เรื่องน่ารู้ เมื่อถึงวันลอยกระทง

พาไปรู้จัก 10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีในวันลอยกระทง รวมถึงความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับวันลอยกระทง

วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2560 เป็นวันที่ผู้คนพร้อมใจกันทำกระทงเพื่อนำไปลอยในแม่น้ำคงคาที่อยู่ใกล้บ้าน โดยเราขอสรุปเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันลอยกระทงเป็นข้อๆ ดังนี้
 
1. ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ  เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
 
2. เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหมต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา
 
2. ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก  
 
3. จัดขึ้นในประเทศ ไทย, ลาว, พม่า, ทางเหนือมาเลเซีย, ศรีลังกา และกัมพูชา
 
4. เชื่อว่าเป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
 
5. เชื่อว่าเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
 
6. เชื่อว่าเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
 
7. ชาวไทยในภาคเหนือเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้
 
8. ในคืนวันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง จะมีพิธี อาบน้ำเพ็ญ ในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นช่วงที่พระจันทร์อยู่กึ่งกลางพอดี และเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้อาบ จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
 
วันลอยกระทง
 
9. ชื่อเรียกเทศกาลลอยกระทงแตกต่างกันไปตามภาค
 
- ภาพเหนือ เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่ (ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
 
- ภาคอีสาน หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น จังหวัดร้อยเอ็ด มีการแสดง แสงสีเสียง บริเวณเกาะบึงพลาญชัย(สถานที่จัดงาน)ให้เป็นเกาะสวรรค์ มีการประกวดกระทงประทีปใหญ่ ชิงถ้วยพระราชทาน เป็นต้น
 
- ภาคกลาง อย่างเช่น กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 
 
- ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน 
 
10. นิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้เคราะห์ร้ายหายไป จากนั้นนำไปลอยในสายน้ำ หรือในทะเล