ล่องเืีรือไหว้พระ 9 วัด - เสริมสิริมงคล - วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) พิพิธภัณฑ์สักทอง

กินเที่ยว
ล่องเืีรือไหว้พระ 9 วัด - เสริมสิริมงคล - วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง)  พิพิธภัณฑ์สักทอง

วัดเทวราชกุญชร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๙๐ ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อาณาเขต ทิศเหนือติดกับถนนศรีอยุธยา

           วัดเทวราชกุญชร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี  ชนิด วรวิหาร  ตั้งอยู่เลขที่  ๙๐     ถนนศรีอยุธยา  แขวงวชิรพยาบาล  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร อาณาเขต  ทิศเหนือติดกับถนนศรีอยุธยา  ตอนโค้งลงแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตท่าวาสุกรี  ทิศใต้ติดกับปากคลองผดุงกรุงเกษม  และตลาดเทวราชของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ทิศตะวันออกติดกับถนนศรีอยุธยา  และตลาดเทวราชของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ทิศตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตอภัยทานท่าน้ำวัดเทวราชกุญชรที่ดิน ที่ตั้งวัดมีจำนวน  ๒๐  ไร่ 
      วัดเทวราชกุญชร  นามเดิมว่า  “สมอแครง”  เป็นวัดเก่าแก่โบราณ  มีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์  สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  รัชกาลที่  ๑  ปฐมกษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์  ได้ทรงสถาปนาใหม่  ต่อมาเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี  (ต้นสกุลมนตรีกุล)  พระโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี  ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์  จากนั้น  กรมพระพิทักษ์เทเวศร  (ต้นสกุลกุญชร  ณ  อยุธยา)  พระนามเดิมว่า  “พระองค์ เจ้ากุญชร”  พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงบูรณ์ปฏิสังขรณ์
      วัดเทวราชกุญชร  ตั้งเมื่อ  พ.ศ. ๑๘๕๐  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๐๐  เดิมเป็นวัดราษฎร์สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เหตุที่เรียกกันว่าวัดสมอแครง  เล่ากันว่าเพราะมีต้นสมอร่องแร่งมาก  แต่บางท่านสันนิษฐานว่า  คำว่าสมอ  เพี้ยนมาจาก  คำว่า ถมอ  (ถะมอ)  เป็นภาษาเขมรแปลว่า  หิน  วัดนี้คงเรียกกันครั้งแรกว่า ถมอแครง  แปลว่า  หินแกร่งหรือหินแข็งต่อมาในสมัยรัชกาลที่  ๔  พระองค์ทรงรับเป็นพระอารามหลวงและพระราชทานนามว่า  “วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร”  พระองค์ทรงนำคำว่า  เทวราช มานำหน้าพระนามของพระองค์เจ้ากุญชร  ซึ่งเป็นพระนามเดิมของกรมพระพิทักษ์เทเวศรผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้

พระอุโบสถ 

        มีขนาดใหญ่และสูง  กว้าง  ๑๗  เมตร  ยาว  ๓๖  เมตร  กรมพระพิทักษ์เทเวศรทรงสร้างมีเขตพัทธสีมา  กว้าง  ๒๖  เมตร  ยาว  ๔๓.๕๐  เมตร  มีกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถ  ที่มุมกำแพงแก้วมีเจดีย์อยู่ทั้ง  ๔  มุม  ภายในกำแพงแก้วด้านทิศเหนือมีวิหารก่ออิฐถือปูน  หลังคามุงกระเบื้องดินเผาด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นศาลารายก่อ อิฐถือปูนหลังคามุงกระเบื้องดินเผา
      ผนังพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรม  ผนังด้านข้างทั้ง  ๒  ด้าน  เหนือช่องหน้าต่างเขียนภาพเหตุการณ์ตอนเหล่าเทพยดามาชุมนุมกัน  ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดวงดึงส์  ส่วนผนังตอนล่างด้านหน้าระหว่างช่องประตูเป็นภาพทศชาติ  เรื่อง  สุวรรณสาม  ด้านข้างทั้ง  ๒  ด้านเป็นภาพภิกษุกำลังปลงอสุภกรรมฐาน  และด้านหลังเป็นภาพกิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์

พระพุทธเทวราชปฏิมากร  พระประธานประจำพระอุโบสถ
      พระประธานในพระอุโบสถ  เป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อลงรักปิดทอง  ปางมารวิชัย  ฝีมือช่างสมัยทวารวดี  ประดิษฐานบนฐานชุกชี  หน้าตักกว้าง  ๔.๓๕  เมตร  สูงตั้งแต่  พระเพลาถึงยอดเปลวรัศมี  ๕.๖๕  เมตร  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถ  นามว่า  “พระพุทธเทวราชปฏิมากร”  เมื่อวันที่  ๑๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๕๔๖
      ประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้  คุณหลวงวรศักดิ์ภูบาล  เล่าว่า  ในหลวงรัชกาลที่  ๓  ทรงทราบว่า  กรุงศรีอยุธยาพบพระทององค์ใหญ่โปรดเกล้าฯ  ให้กรมหมื่นพระพิทักษ์เทเวศรไปอัญเชิญลงมายังพระนคร  ในกรมได้ทรงต่อแพเชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ล่องลงมา  ครั้งถึงปากคลองเทเวศร์  แพเกิดดื้อฉุดเท่าไรก็ไม่มายังตำหนักแพจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นพิทักษ์เทเวศรอัญเชิญพระพุทธรูปนี้ขึ้นที่วัดสมอแครง                  

 พิพิธภัณฑ์สักทอง

           พิพิธภัณฑ์สักทอง ซึ่ง อยู่ภายใน วัดสมอแครง (วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร)  เดิมพิพิธภัณฑ์นี้มีชื่อว่า “บ้านแก้ว” ในจังหวัดแพร่  โดยที่เจ้าของซึ่งมีอายุที่สูงวัย อีกทั้งลูกหลานต่างก็แยกย้ายและทำงานอยู่ในกรุง เทพฯ จึงไม่มีเวลาดูแลและมีความคิดที่จะขายบ้านหลังนี้ แต่ก็กลัวว่าไม้ที่มีค่าจะถูกแปรรูปเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและหมดค่าไปในที่ สุด จึงได้ ขอร้องให้ทางโครงการ นาวิน  ปาร์ค รับซื้อไว้เพราะเชื่อว่าจะยังคงรักษาสภาพบ้านแก้วไว้อย่างดี หลังจากนั้นบ้านหลังนี้จึงย้ายมาอยู่ที่ นาวิน ปาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี

           ต่อมา ศ.ดร.อุกฤษ และ คุณมณฑินี มงคลนาวิน  ซึ่งเป็นผู้ที่รับซื้อบ้านหลังนี้ได้มอบบ้านหลังนี้ให้กับทาง วัดเทวราชกุญชร เพื่อสร้าง เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สักทอง เพื่อแหล่งการเรียนรู้การอนุรักษ์ และเป็นศูยน์เผยแพร่ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังเป็นการเฉลิม ฉลองในวโรกาสที่  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปี  พ.ศ. 2549  และทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา  ในปี พ.ศ. 2550

           ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร เป็นเนื้อที่ชั้นละประมาณ 505 ตารางเมตร รวม 2 ชั้น มีเนื้อที่ประมาณ 1,010 เมตร

    

ส่วนที่ 1 
จัดแสดงประวัติของ ศ.ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน อดีตประธานรัฐสภา 5 สมัย ผู้ที่มอบบ้านหลังนี้ เพื่อแหล่งการเรียนรู้การอนุรักษ์ และ เป็นศูยน์เผยแพร่ความรู้ทาง ด้านพระพุทธศาสนาี้

ส่วนที่2 
จัดแสดงประวัติของ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร (วัดสมอแครง) และประวัติของ พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาส

ส่วนที่ 3 
ห้องรับรองสำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์่ษานุวงศ์ เวลาที่ทรงเสด็จเพื่อมาประกอบพิธี ณ. วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

ส่วนที่ 4 
เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะต่างๆ และพระบรมสารีริกธาตุ

ส่วนที่ 5 
จัดแสดงรูป ปั้นพระสมเด็จพระสังฆราช 18 พระองค์

ส่วนที่ 6 
ห้องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร.5 )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชมบรรยากาศและร่วมเดินทางไปกับทริปล่องเรือไหว้พระ 9 วัดว่าจะสนุกและอิ่มบุญแค่ไหน คลิกที่นี่