ยลความงามเมื่อครั้งอดีตที่ ''วังสวนผักกาด''

กินเที่ยว
ยลความงามเมื่อครั้งอดีตที่ ''วังสวนผักกาด''

แม้ว่ากรุงเทพฯ ในยุคโลกาภิวัตน์จะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความพลุกพล่านวุ่นวาย แต่กระนั้นกรุงเทพฯก็ยังมีบางสถานที่ ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่น่าสนใจและน่าปลดปล่อยอารมณ์ให้ล่องลอยไป ซึ่ง"พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด" นับเป็นหนึ่งในนั้น

แม้ว่ากรุงเทพฯ ในยุคโลกาภิวัตน์จะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความพลุกพล่านวุ่นวาย และมากมายไปด้วยแท่งคอนกรีตที่ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง แต่กระนั้นกรุงเทพฯก็ยังมีบางสถานที่ และบางมุมที่ถือเป็นมุมสงบ มุมโรแมนติก และมุมสวยงาม รวมถึงเป็นมุมที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายแห่งอดีตที่น่าสนใจและน่าปลดปล่อยอารมณ์ให้ล่องลอยไป ซึ่ง"พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด" นับเป็นหนึ่งในนั้น

"พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด"หรือที่คนส่วนใหญ่มักจะเรียกสั้นๆว่า "วังสวนผักกาด"นั้น ถือเป็นหนึ่งในมุมสงบอันสวยงามของกรุงเทพฯที่ตั้งอยู่บน ถ.ศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะไปประตูน้ำและสยามสแควร์

   

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ตั้งอยู่บนพื้นที่ ๖ ไร่ บริเวณถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ อันประกอบด้วยเรือนไทยโบราณ ๘ หลัง เรือนหลังที่ ๑-๔ จัดเป็นหมู่เรือนไทย โดยเรือนหลังแรกมีสะพานเชื่อมไปสู่เรือนหลังที่ ๒, ๓ และ ๔ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ ตามลำดับ ส่วนเรือนหลังที่ ๕-๘ ปลูกอยู่ห่างกันทางทิศตะวันตก และมีหอเขียนอยู่ทางทิศใต้ สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านเชียง และ ห้องศิลปนิทรรศมารศีจัดแสดงอยู่ในศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์

พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด ตั้งอยู่เลขที่ ๓๕๒-๓๕๔ ถนนศรีอยุธยา เป็นความริเริ่มของ พลตรี พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต หรือ เสด็จในกรมฯ และชายา คือ ม.ร.ว.พันธุ์ทิพย์ บริพัตร หรือ "คุณท่าน" โดยที่แต่เดิมได้ทรงรื้อเรือนไทยมาปลูกในวังสวนผักกาด ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๕ หลังจากที่เสด็จในกรมฯ ได้สิ้นพระชนม์ลงใน พ.ศ. ๒๕๐๒ "คุณท่าน" ได้ดำเนินการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ "คุณท่าน" ได้อุทิศให้แก่ มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์

 

   
ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 1 ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 2
จัดเเสดงพระรูปของราชวงศ์ไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 23-25 เเละเครื่องดนตรีของไทย ของทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ได้เเก่ กลองโบราณขนาดใหญ่จำนวน 6 ใบ ซอสามสาย เเละระนาดเอกเป็นต้น ส่วนชั้นบนนั้น มีพระพุทธรูปสมัยอู่ทองของไทย อินเดียคันธราฐ เเละพม่า โบราณวัตถุที่สำคัญได้เเก่ ปฏิมากรรมสมัยต่างๆ เช่น เทวรูปศิลาพระอุมา เทวรูปอรรธนารี เป็นต้น เรือนหลังนี้ส่วนใหญ่เก็บเครื่องเรือนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของ เสด็จในกรมฯ เเละคุณท่าน ด้านนอกจัดเเสดงสัปคับ ตู้พระไตรปิฎก ลายรดน้ำสมัยอยุธยา บนผนังติดตาลปัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับราชสกุลบริพัตร งาช้างเเกะสลักลายไทย พานประดับมุก ตะลุ่มประดับมุก ตลับงาช้าง เป็นต้น
   
ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 3 ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 4
จัดเเสดงโบราณวัตถุเเละศิลปวัตถุ อาทิกลองมโหระทึกที่ใช้ในการพิธีต่างๆ ภาพที่ชาวฟรั่งเศสเขียนขึ้นจากจินตนาการก่อนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เป็นหอพระอยู่ทางทิศตะวันตก หน้าหอพระมีบานประตูมุกสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายในห้องพระมีพระพุทธรูปสำริดสมัยต่างๆ เช่น สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เเละสุโขทัย เเละมีพระบทเกี่ยวกับพุทธประวัติ ใต้เรือนไทยหมู่นี้คือ "ถ้ำอาลีบาบา" เป็นห้องที่เก็บรวบรวมตัวอย่างหินสวยงามแปลกๆ ทั้งในประเทศเเละต่างประเทศ
   
ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 5 ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 6
จัดเเสดงเครื่องเเก้วลายทอง เครื่องเงิน ซึ่งทูลกระหม่อมบริพัตรฯ เเละเสด็จในกรมฯ ทรงสะสมไว้ นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตาสังคโลกดินปั้น เหรียญกษาปณ์สมัยต่างๆ ทั้งของไทย เเละต่างประเทศจำนวนมาก ภายในเรือนหลังนี้จัดเเสดงภาชนะต่างๆ ทั้งภาชนะดินเผาสมัยโบราณ เครื่องสังโลกสมัยสุโขทัย เครื่องรายครามจีน เเละตุกตาดินเผาต่างๆ เป็นต้น
   
ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 7 ชั้นล่างของเรือนไทยหลังที่ 8
จัดเเสดงบริบทของโขน เรื่องรามเกียรติ์ ในด้านศิลปกรรมเเขนงต่างๆ ได้เเก่การเเสดง จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม เเละวรรณคดี นำเสนอด้วยกองทัพตุ๊กตา ตอนศึกกุมภกรรณ ที่เคลื่องกองทัพโรมรันทำสงคราม ตุ๊กตาดินปั้นหัวโขนขนาดเท่าจริง หุ่นละครเล็ก ซึ่งล้วนเเล้วเเต่เเสดงให้เห็นงานหัตถกรรมของช่างไทยทั้งฝีมือชาวบ้าน ช่างพาณิชย์ เเละช่างวิจิตร เรือนหลังนี้ ชั้นบนจัดเเสดงโบราณวัตถุยุคบ้านเชียง ได้เเก่ ภาชนะดินเผาเขียนสี กำไรสำริด หัวขวาน ลูกปัดต่างๆ เป็นต้น ชั้นล่างของเครื่องเรือนจัดเเสดงตัวอย่างหิน เปลือกหอย เเละซากสัตว์โบราณขนาดเล็กที่อยู่ในหินฟอสซิล
   
พิพิธพัณฑ์บ้านเชียง ห้องศิลปนิทรรศมารศี
พิพิธพัณฑ์บ้านเชียง จัดเเสดงบิริเวณชั้น 2 เเละชั้น 3 ของศิลปาคารจุมภฎ - พันทิพย์ เพื่อเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เเละโบราณคดีในยุคอารยธรรมบ้านเชียง โบราณวัตถุที่นำมาจัดเเสดงมีอายุประมาณ 4,000 ปี ได้เเก่ ภาชนะดินเผา ลายเขียนสี ลายงู ภาชนะดินเผาเชือกทาบ ขวานสำริด ใบหอกสำริด ห่วงคอสำริด กำไลหิน ลูกปัดเเก้ว ห้องศิลปนิทรรศมารศี ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 2 ของศิลปคารจุมภฎ - พันธ์ทิพย์ ภานในบริเวณวังสวนผักกาด การก่อตั้งห้องศิลปนิทรรศมารศี เพื่อส่งเสริมเเละเผยเเพร่งานด้านศิลปกรรม เเละวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นเวทีสำหรับศิลปินเเขนงต่างๆ โดยการจัดกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม เเละนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนตลอดปี
   
หอเขียนลายรดน้ำ เรือพระที่นั่งเก้ากึ่งพยาม
หอเขียนลายรดน้ำ ถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์เเห่งนี้ เรือนหลักนี้เดิมอยู่ที่วัดบ้านกลิ้ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จในกรมฯ เเละคุณท่านได้ทำผาติกรรมไถ่ถอนย้ายมาที่วังสวนผักกาด เเละซ่อมเเซมตัวเรื่อนเเละลายรดน้ำ จากนั้น เสด็จในกรมฯ ทรงประทานหอเขียนเป็นของขวัญเเก่คุณท่าน เมื่ออายุครบ 50 ปี ในวันที่ 8 มีนาคม 2502 เยื้องจากหอเขียน เป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่งเก้ากึ่งพยาม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทานเเก่ ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ใช้เป็นขบวนเรือตามเสด็จประพาสต้น เรือลำนี้มีขนาดยาว 9 วาครึ่ง ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียนทอง เเละเก๋งเรือทำด้วยไม้สักทอง

 352-354 วังสวนผักกาด ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
เวลาทำการ : เปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 น.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : 0-2246-1775 229, 0-2245-4934
โทรสาร : 0-2247-2079, 0-2245-6369
อีเมล์ : public@suanpakkad.com
เว็บไวต์ : http://www.suanpakkad.com
สายรถประจำทางที่ผ่าน : 14, 17, 72, 74, 77, 159, 204, 536, 539
รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีพยาไท ทางออกที่ 4

ขอบคุณรูปจากคุณ marzo เเละ www.ohomylife.com

ที่มา : travel.thaiza.com, www.manager.co.th, www.myfirstbrain.com