รวม 8 เทศกาลญี่ปุ่นที่น่าเที่ยวในช่วง ปี 2560 นี้

กินเที่ยว
รวม 8 เทศกาลญี่ปุ่นที่น่าเที่ยวในช่วง ปี 2560 นี้

ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีนักท่องเที่ยวนิยมแห่ไปกันร่วมเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่นกันทุกๆ ปี

 

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่เก่าแก่มากที่สุดเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เพิ่มมากแต่คนญี่ปุ่นก็ไม่เคยที่จะละเลยวัฒนธรรมประเพณีที่เก่าแก่สืบต่อกันมา และทุกวันนี้ชาวญี่ปุ่นก็ได้สอนลูกหลานตัวเองให้รู้สึกผูกพันกับวัฒนธรรมต่างๆ ของประเทศตัวเอง ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีนักท่องเที่ยวนิยมแห่ไปกันร่วมเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่นกันทุกๆ ปี
 
วันนี้แอดมินจะพาเพื่อนมารู้จักกับเทศกาลของญี่ปุ่นกันคร่าวๆ กันก่อนที่จะเดินทางไปร่วมเทศกาลที่ญี่ปุ่น บอกได้เลยว่าความฟินในเสน่ห์แต่ละเทศกาลแน่นอน ถ้าพร้อมกันแล้วก็มาเริ่มกันเลยดีกว่า ..
 
 
Cr. Koshigaya King
 
Cr. walkkyoto
 
1. เทศกาลเซ็ทซึบุน  
 
เทศกาลเซ็ทซึบุน (Setsubun) หรือ เทศกาลปาถั่ว เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นหลังฤดูหนาว โดยจะจัดขึ้น ทุกๆวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ เป็นประจำทุกปีโดยชาวญี่ปุ่นทุกจังหวัดจะจัดเทศการนี้ขึ้น เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดของฤดูหนาวและกำลังจะที่จะเข้าในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยในเทศกาลเซ็ทซึบุนจะมีการโปรยถั่วอบที่บ้านและสถานที่ทำงานต่างๆ เพื่อที่จะขับไล่สิ่งที่ไม่ดีที่เข้ามาในตัวออกไป หรือที่เรียกในญี่ปุ่นกันว่า “โอนิ”  จุดเด่นเทศกาลเซ็ทซึบุนจะมีการคัดเลือกผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุครบ 12 ปี ให้มาใส่หน้ากากรูปยักษ์ต่างๆเพื่อที่จะมาโปรยถั่วซึ่งเวลาที่ “ปาถั่ว” ออกมานั้นจะให้ตะโกนคำว่า “โอะนิวะโซโตะ”ซึ่งแปลว่าสิ่งอัปมงคลทั้งหลายที่เข้ามาในชีวิตจงออกไปและหลังจากนั้นจะ “โปรยถั่ว” อีกหนึ่งครั้งแล้วตะโกนคำว่า “ฟุกุสะอุจิ” ซึ่งแปลว่าความเป็นสิริมงคลจงเข้ามาในชีวิตนอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันอีกว่าการที่กินเม็ดถั่วตามอายุของตัวเองจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วยไม่ไข้ตลอดทั้งปี เสน่ห์ของเทศกาลแห่งนี้นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้อีกด้วย จึงทำให้มีท่องเที่ยวแห่กันไปเที่ยวชมเทศกาลเซ็ทซึบุนเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ครับ
 
 
Cr. Marisoleta
 
2. เทศกาลหิมะ ซัปโปโร
 
เทศกาลหิมะ (Snow Festival)  ถูกจัดขึ้นในราวปี ค.ศ. 1950 โดยมีสมาคมการส่งเสริมการท่องเที่ยวซัปโปโรและเขตซัปโปโร โดยจัดเทศกาลหิมะครั้งแรกนี้ซึ่งไม่เคยมีใครสร้างรูปปั้นหิมะมาก่อนจนคณะกรรมการการท่องเที่ยวได้ขอร้องให้เด็กมัธยมปลายมาร่วมกันปั้นรูปตุ๊กตาหิมะสูงถึง 7 เมตร และนับจุดเริ่มต้นของเทศกาลหิมะ ต่อมาในช่วง 1972 ญี่ปุ่นได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวจึงได้แนะนำเทศกาลหิมะให้รู้จักไปทั่วโลก และในปี 1974 ญี่ปุ่นจึงได้มีการจัดแข่งขันปั้นหิมะระดับนานาชาติ และยิ่งถ้าพูดถึงเทศกาลหิมะเพื่อนเชื่อกันหรือป่าวว่าในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมงานมากถึง 2 ล้านคน นอกจากจะมาชมการประกวดการแกะสลักน้ำแข็งรูปต่างๆ แล้วในงานแกะสลักแห่งนี้ยังเป็นที่รู้จักในไทยเป็นส่วนมากก็เพราะประเทศไทยได้รับแชมป์การแกะสลักอีกด้วย และเทศกาลแห่งนี้จะถูกจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์
 
 
Cr. ryougoohtani
 
3. เทศกาลฮินะ
 
เทศกาลฮินะมะสิริ (Hina Matsuri) หรือรู้จักในชื่อ วันเด็กของผู้หญิง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมจีน คือตามความเชื่อของคนจีนที่ว่าการปลดปล่อยตุ๊กตาลงน้ำจะได้ขจัดเคราะห์ร้ายให้ลอยไปกับตุ๊กตา แต่คนญี่ปุ่นจะถือเทศกาลกาลฮินะมะสึริเป็นเทศกาลแห่งการอธิษฐานให้กับลูกสาวมีความสุข ซึ่งเทศกาลนี้มีชื่อเสียงตั้งแต่สมัยเอโดะโดยจะมีการตกแต่งตุ๊กตาให้สวยงามหลายๆตัววางเอาไว้อยู่บนชั้นวางแล้วนำวางไว้ภายในบ้านตามความเชื่ออีกแบบหนึ่งของคนญี่ปุ่นว่าจะทำให้ลูกสาวแข็งแรงและมีความสุขตลอดทั้งปี เด็กผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่เทศกาลฮินะครั้งแรก จะถูกเรียกว่า "ฮัตสุ เซกุ" ซึ่งแปลว่าตุ๊กตาเจ้าชายโอไดริซามะและเจ้าหญิงโอฮินะซามะ และยังเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ย่าหรือยาย เพราะพวกเธอจะซื้อตุ๊กตามาจัดโชว์ให้กับหลานสาว เริ่มนำตุ๊กตามาทำความสะอาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 3 มีนาคม ก็จะนำตุ๊กตาฮินะหรือเรียกในชื่อญี่ปุ่นว่า  ฮินะนิงโย  มาตั้งโชว์ ซึ่งเป็นตุ๊กตาที่ทำด้วยมือแบบดั้งเดิม วางไว้บนชั้นปกติจะมีทั้งหมด 7 ชั้น รอบๆ ชั้นจะประดับด้วยเครื่องบูชา เช่น ดอกพีช ข้าว เค้ก และเค้ก ที่ทำจากข้าวรูปร่างคล้ายเพชร ซึ่งเรียกว่าฮิชิโมกิรวมไปถึงสาเกขาว และคิราชิซูชิซึ่งตุ๊กตาส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาวางในชั้นบนสุดของโต๊ะ คือ ตุ๊กตา เจ้าชายโอไดริ-ซามะและเจ้าหญิงโอฮินะ-ซามะและรายล้อมไปด้วยข้าราชบริพาร และเครื่องตกแต่งชิ้นเล็กๆ โดยฉากหลังของชั้น จะประดับด้วยฉากที่เป็นสีทอง ให้เหมือนกับคฤหาสน์จำลอง มนต์เสน่ห์ของเทศกาลนี้นักท่องเที่ยวจะได้ลองทำตุ๊กตาและตกแต่งชุดเครื่องประดับให้กับตุ๊กตาด้วยตัวเอง
 
 
Cr. Teruhide Tomori
 
4. เทศกาลระบำมิยะโกะ
 
เทศกาลระบำมิยะโกะหรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าระบำซากุระเกียวโต โดยระบำนี้จะหาดูได้ในแถบเกียวโตเท่านั้นสมัยก่อนระบำมิยะโกะเป็นการแสดงศิลปะขับร้อง ร่ายรำแบบญี่ปุ่นที่ค่อยให้ความสนุกสนานแก่แขกที่มาเยือนและในปัจจุบันก็ยังมีเทศกาลนี้อยู่บอกได้เลยว่าใครที่ไปญี่ปุ่นช่วงเดือน เมษายนห้ามพลาดที่จะมาชมระบำมิยะโกะกันนะครับ
 
 
Cr. Leo Hartadi

5. วันเด็กผู้ชายญี่ปุ่น
 
เทศกาลวันเด็กนี้ ที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้เป็นวันหยุดประจำปีอีก 1 วัน และเทศกาลนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคม ของทุกปี โดยครอบครัวที่มีบุตรชาย คนญี่ปุ่นจะกำหนดให้มีการจัดพิธีบูชา ตุ๊กตา ที่ใส่ชุดนักรบ หรือ โกะงัสสึ นิงเงียว แปลทับศัพท์ ว่าตุ๊กตาเดือนพฤษภาคม และจะตั้งเสาธงปลาคาร์ฟไว้ภายในบริเวณบ้าน ธงปลาคาร์ฟจะมีปลาคาร์ฟอย่างน้อยสามตัวด้วยกัน ประกอบไปด้วย พ่อปลา แม่ปลา และลูกปลา ให้ขึ้นไปแหวกว่ายอยู่บนท้องฟ้า เพื่อแสดงความยินดี และขอให้บุตรชาย มีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ไร้โรคภัยไข้เจ็บ เป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย โตวันโตคืน เป็นการแสดงความรักและให้ความสำคัญกับบุตรชาย แต่ชาวญี่ปุ่นผู้หญิงจะนิยมสวมชุดกิโมโนที่ตกแต่งลวดลายไว้อย่างสวยงามเช่น ลายดอกไม้ฯลฯ โดยเน้นสีพื้นของตัวชุดเป็นสีดำ ส่วนผู้ชายจะนิยมใส่ชุดสูทสีดำ
 
 
Cr. Benn99
 
6. เทศกาลบง
 
เทศกาลบง (Obon Matsuri) หรือเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า โอบง ซึ่งเป็นประเพณีของชาวญี่ปุ่นที่นับถือในพระพุทธศาสนาและจะจัดขึ้นในวันที่ 13-15 สิงหาคมของทุกปี โดยชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อมากันว่าช่วงเวลาวันที่ 13-15 เหล่าบรรดาวิญญาณของบรรพบุรุษจะกลับมาจากนรกภูมิ และจะมีการจุดไฟรอรับอยู่ที่หน้าบ้านโดยจะมีการจัดเลี้ยงอาหารต่างๆ ไว้ให้นอกจากนี้ยังจะมีการละเล่นในเทศกาลคือมีการจุดไฟรับดวงวิญญาณมาและส่งกลับ ที่มาของเทศกาลบงนี้ คือในสมัยพระมหาโมคคัลลานะซึ่งได้บวชมาเป็นพระภิกษุท่านได้นั่งสมาธิจนตนเองสามารถเห็นถึงนรกสวรรค์และได้ฟังเรื่องราวพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่พระโมะกุเร็งว่า ดูกรโมะกุเร็ง ไม่ใช่ว่าจะคิด ช่วยแต่เฉพาะคนคนเดียว ไม่ใช่ว่าจะคิดช่วยแต่แค่มารดาของตนแต่เพียงอย่างเดียว จงคิดช่วย ไปถึงบุคคลอื่นๆ ทุกคนที่ได้ตายไปครั้งก่อนๆ ที่ไม่ใช่ญาติของเราก็ตาม ท่านจงอุทิศส่วน กุศลและแผ่เมตตาให้กับเขาเหล่านั้นทุกคนเสียด้วยหลังจากนั้นพระโมะกุเร็งก็ได้ทำประเพณีบงนี้ขึ้นมาให้กับชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาพุทธ และเสน่ห์ของเทศการโอบงคือจะงานเลี้ยงฉลองต้อนรับดวง วิญญาณของบรรพบุรุษเพื่อให้เกิดความครื้นเครงรื่นรมย์หรรษาในขณะที่ได้กลับมาที่บ้านของตน งานจะเป็นเหมือนหรือคล้ายๆ กับงานวัดของไทยเรานี่เอง ด้วยจะมีการตีกลอง และจะเต้นรำไปรอบๆ ชั้นที่สร้างเป็นห้างอยู่กลางงานเด็กๆ และผู้ใหญ่ก็จะ ใส่ชุด "ยูกาตะ" (ชุดกิโมโนหน้าร้อน) ในงานจะมีเสียงเพลงบรรเลงอยู่ตลอดเวลาสร้าง บรรยากาศให้สนุกสนานและครื้นเครงได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว งานนี้จะมีกำหนดระยะเวลาถึงเกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ แต่จะจัดสลับกันไปในหลายๆที่จนทั่วทั้งเมือง และในหนึ่งงานนั้นจะจัดกันประมาณ 3-4 วันเป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังมีการลอยโคมในรูปแบบต่างๆ ไม่จะเป็นปล่อยขึ้นลอยไปบนฟ้าหรือลอยไปกับเรือไม้ในทะเลสาบนับว่าเป็นเทศกาลที่น่าท่องเที่ยวสุดๆเพื่อนคนไหนที่ได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงเดือนสิงหาคมก็อย่าลืมไปสืบสานประเพณีของชาวพุทธญี่ปุ่นกันด้วยนะครับ

 
Cr. Oeil Photography
 
7. เทศกาลชิจิ โกะ ซัง

เทศกาลชิจิโกะซัง (Shichi-Go-San) เป็นเทศกาลที่สำคัญของเด็กที่มีอายุ 3,5 และ7 ขวบจะต้องแต่งตัวไปนมัสการศาลเจ้าประจำหมู่บ้านให้คุ้มครองมีความสุขและเจริญเติบโตมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ในอนาคตและจะให้เด็กๆถือลูกอมจิโตะเสะอะเมะหรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่าลูกอมอายุ 1,000 ปี ลักษณะของลูกอมจะมีแท่งเรียวยาวสีแดงสลับขาวทำจากน้ำตาลซึ่งชาวญี่ปุ่นชื่อกันว่าถ้าให้เด็กถือหรือว่ากินจะทำให้มีอายุยืนยาวหลังจากนั้นจะต้องไปทำพิธีโนะริโตะคือการสวดภาวนาต่อเทพเจ้าชินโตหรือไหมก็เป็นพิธีโอะฮะไรคือเป็นพิธีที่ขับไล่วิญญาณที่ชั่วร้ายออกจากตัวและยังเป็นเทศการที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบในเทศกาลนี้ จึงนิยมพาลูกหลานไปญี่ปุ่นเพื่อทำพิธีนี้เทศกาลนี้จะเริ่มในช่วงวันที่ 15 พฤศจิกายน
 
 
Cr. Aresio
 
8. เทศกาลวันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะ
 
เทศกาลวันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะ หรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า เซอิจินโนฮิ (seijin no hi) เป็นวันที่หนุ่มสาวที่อายุครบ 20 ปีจะสวมใสชุดกิโมโนลายสีสันสวยงาม และผู้ชายจะใส่สูทสีดำ เพื่อให้หนุ่มสาวตระหนักถึงการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องพยายาม ความรับผิดชอบและรู้จักการวางชีวิตด้วยตนเองซึ่งเทศกาลนี้นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) โดยมีรากฐานมาจากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น เพื่อแสดงการที่บุคคลจะต้องละทิ้งความเป็นเด็กและเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ โดยคำว่า “เซย์จิน” Seijin นั้นก็แปลตรงๆ ตัวว่า “ผู้ใหญ่” นั่นเองและยังเป็นที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติที่ยังเป็นวัยรุ่นได้เดินทางเข้ามาร่วมในเทศกาลแห่งนี้มากถึง 5 ล้านต่อปี นอกจากนี้เทศกาลวันเฉลิมฉลองบรรลุนิติภาวะจะจัดขึ้นใน เดือนมกราคม อย่าลืมมาเที่ยวเทศกาลกันนะครับ
 
 
ยังมีเทศกาลของประเทศญี่ปุ่นอีกมากมายให้ท่านได้มาลองสัมผัสและกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมที่ไม่เคยศูนย์หายไปจากชาวญี่ปุ่นบอกได้เลยว่ามาญี่ปุ่นทีไรหัวใจนิเต้นแรงสุดๆ ไปเลย


ที่มา :