ศาลาเฉลิมกรุง-นำทีม-6-ศิลปินแห่งชาติ-รวมใจศิษย์กตัญญู-เชิดชูครูเพลงลูกทุ่งไทย-ครูจิ๋ว-พิจิตร-(ดิเรก เกศรีระคุปต์)-ถ่ายทอดผลงานของปรมาจารย์เพลงแหล่...นักแต่งเพลงมือทอง

หลังจากแต่งเพลงให้บรรดาลูกศิษย์โด่งดังมามากมายหลายรุ่น เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม ศาลาเฉลิมกรุง รวมใจศิลปินลูกทุ่งกตัญญูเชิดชูครูเพลง ดิเรก เกศรีระคุปต์ “ครูจิ๋ว พิจิตร” ครูเพลง ขนานเอก...ต้น

หลังจากแต่งเพลงให้บรรดาลูกศิษย์โด่งดังมามากมายหลายรุ่น เป็นที่ประจักษ์แก่สังคมศาลาเฉลิมกรุง รวมใจศิลปินลูกทุ่งกตัญญูเชิดชูครูเพลง ดิเรก เกศรีระคุปต์ “ครูจิ๋ว พิจิตร” ครูเพลง ขนานเอก...ต้นตำนานเพลงบวชนาคหนึ่งเดียวของวงการเพลงลูกทุ่งไทย นักแต่งเพลงมือทอง…ผู้อยู่เบื้องหลัง เพลงดังสร้างศิลปินแห่งชาติและนักร้องเสียงทองเป็นดาวประดับวงการลูกทุ่งไทย...รวมเพลงดังอมตะผลงาน ของปรมาจารย์เพลงแหล่เชิดชูครูเพลงครั้งแรก ในคอนเสิร์ต “ผู้ชายคนนี้ชื่อ...จิ๋ว” วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2553 รอบ 14.00 น. ณ ศาลาเฉลิมกรุง

ครูจิ๋ว พิจิตร เกิดวันที่ 16 กรกฏาคม 2466 เดิมเป็นคนอ่างทอง และย้ายไปอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ต่อมาผันตนเองไปเป็นนักแสดงลิเก นักพากย์และนักแต่งเพลง ได้รับการสนับสนุนจาก พร ภิรมย์ เข้าสู่วงการเพลง มีผลงานเพลงฝากไว้ในแผ่นดินกว่า 2,000 เพลง เป็นผู้สร้างสรรค์แนวเพลงเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมไทย อาทิเพลงงานบวชนาค...ไม่ว่าจะมีงานบวชนาคที่ไหน เป็นต้องเปิดเพลงบวชนาคของครูจิ๋วที่นั่น…อันเป็นเพลงที่มีเนื้อหาสาระ ฟังแล้วเห็นภาพวิถีชีวิตของคนไทยในชนบทพื้นบ้าน รวมถึงสร้างสรรค์แนวเพลงไทยเดิม อนุรักษ์ความ เป็นไทย เชิดชูการทดแทนบุญคุณของบุพการี ผู้มีพระคุณในการบวช ...มีผลงานเพลงโด่งดังเป็นอมตะมาจนถึงวันนี้... ไม่ว่าจะเป็น เพลงแรกแต่งในปี 2497 คือเพลง ''ชายไร้โบสถ์'' ที่ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธุ์ ครูจิ๋ว พิจิตร เป็นผู้จุดประกายให้ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ดังทะลุฟ้าจากเพลง “แบ่งสมบัติ” "ไวพจน์ ลาบวช" เป็นผู้ปลุกปั้น ขวัญจิต ศรีประจันต์ (ศิลปินแห่งชาติ) ให้เกิดในวงการลูกทุ่งเป็นที่รู้จักในเพลง “กับข้าวเพชฌฆาต”, สร้างสรรค์งานเพลงให้ ชินกร ไกรลาศ (ศิลปินแห่งชาติ) ดังตามติดกันมาในเพลง “เดือนคว่ำเดือนหงาย” และส่งเพลงดังปั้นศิลปินหลากรุ่น อาทิ "หม้ายขันหมาก" “ผัวฉันหาย” ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์, เพชร โพธาราม ดังจากเพลง “สุโขทัยระทม”, สายัญห์คอยแฟน เป็นเพลงแจ้งเกิดให้กับ สายันห์ สัญญา, และส่งเพลงดังอย่าง "คาถามหานิยม" แจ้งเกิดให้ ยอดรัก สลักใจ เป็นต้น รวมถึงเพลงที่คนลูกทุ่งจะต้องจดจำกันได้ อาทิ “ใส่กลอนหรือเปล่า, ปีหน้าแต่งแน่, หน้าด้านหน้าทน, มันมากับความแค้น, ลาน้องไปเวียดนาม, ต้นฉบับลาบวช, ขันหมากไวพจน์, เสียงจากผ่องศรี, ไวพจน์กลองยาว, ยืนงง, รำวงรักคนใบ้, สี่ภาคอยากดัง, เซิ้งบั้งไฟ, ยายฉิมเก็บเห็ด, ใส่กลอนหรือเปล่า, กรรมการ, หนุ่มอุบล สาวอุดร, เบื่อสมบัติ, ขโมยสมบัติ, เพี้ยงอีมั้งป๊อด, หลีกทางรัก, ดอกอะไร ฯลฯ

ฟังเพลงดังกันสดๆ ในเพลงต้นตำรับจากศิลปินต้นแบบ รวมตัวครั้งแรกของ 6 ศิลปินแห่งชาติ..ศิษย์เอกครูจิ๋ว ผ่องศรี วรนุช, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ, ชัยชนะ บุญนะโชติ, ชาย เมืองสิงห์, ขวัญจิต ศรีประจันต์, ชินกร ไกรลาศ และศิลปินลูกทุ่งชื่อดัง...ทศพล หิมพานต์, ยิ่งยง ยอดบัวงาม, สุริยา ชินพันธ์, ดำรงค์ วงศ์ทอง, พิกุล บุญนะโชติ, ดาว มยุรี, เจเน็ท เขียว, ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง, สุดา ศรีลำดวน, จอมขวัญ กัลยา, ปิยะวัฒน์ เปี่ยมเบี้ย (มิ๊กกี้), หน่อย นวรัตน์ ฯลฯ พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญพิเศษ... สีเทา เพ็ชรเจริญ บรรเลงโดย วงดนตรีเฉลิมราชย์ ควบคุมวงโดย อ.วิรัช อยู่ถาวร วิจิตรงดงามตระการตาไปกับนาฏศิลป์ประกอบเพลงจาก คณะนักแสดง โขน~ศาลาเฉลิมกรุง ขอเชิญแฟนเพลง ร่วมสร้างสีสันงานเพลงแต่งกายโทน ม่วง-ขาว (สีโปรดครูจิ๋ว) เข้าร่วมชมคอนเสิร์ต โดนใจ..ครูจิ๋ว พิจิตร รับรางวัลพิเศษไปเลย บัตรราคา 1,000 บาท 700 บาท และ 500 บาท จำหน่ายบัตรที่ศาลาเฉลิมกรุง โทร.0-2225-8757-8, 0-2623-8148-9 และไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โทร. 0-2262-3456 หรือ www.thaiticketmajor.com

ประวัติผลงาน
นายดิเรก  เกศรีระคุปต์หรือ จิ๋ว พิจิตร

1. ประวัติส่วนตัว
ชื่อ-นามสกุล นายดิเรก เกศรีระคุปต์
ชื่อในวงการ  จิ๋ว พิจิตร
เกิดวันที่ 16 กรกฏาคม 2466
ที่อยู่ปัจจุปัน
199/150 ตลาดใหม่ดอนเมือง ถนนเชิวุฒกาศ 9 แขวงทุ่งสีกัน
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โทร. 02-983-9615-17
บิดา-มารดา 
นายเปรื้อง นางสงวน เกศรีระคุปต์ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน ชาย 3 คน หญิง 3 เป็นบุตรชายคนโต
ภูมิลำเนาเดิม  ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

2. ประวัติการศึกษา
ประวัติการศึกษา จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.ศ.6)

3. ประวัติการทำงาน
ประวัติการทำงาน
รับราชการเป็นครูประชาบาล โรงเรียนปัทมโรจน์ราฏร์บำรุง
อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

4. ผลงาน
ผู้สนับสนุน
ได้รับการสนับสนุนจาก พร ภิรมย์เข้าสู่วงการเพลง ผลงานเพลงแรกที่ได้รับการบันทึกเสียง
เมื่อมิถุนายน 2497 เพลง ชายไร้โบสถ์ ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์

5.การสร้างสรรค์และเผยแพร่
แนวเพลงที่แต่ง
เป็นเพลงเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมไทย เช่นเพลงงานบวชนาค เป็นเพลงที่มีเนื้อหา
สาระฟังแล้วจะมองเห็นภาพวิถีชีวิตของคนไทยในชนบทพื้นบ้าน แนวเพลงไทยเดิม
อนุรักษ์ความเป็นไทย เชิดชูการทดแทนบุญคุณของบุพการีผู้มีพระคุณในการบวชเป็น
พระภิกษุในบวรพุทธศาสนา ผลงานเป็นกิจลักษณะนับเป็นร้อย ๆ เพลงจนแทบจะกล่าว
ได้ว่าเป็นครูเพลงที่อนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านเพียงคนเดียวที่ยังเหลืออยู่

6.การถ่ายทอดความรู้ความสามารถด้านการแสดง
บทเพลงที่แต่ง

ได้มีผลงานแรก “ชายไร้โบสถ์” ให้สมยศ ทัศนพันธ์ ขับร้อง
เป็นผู้จุดประกาย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ดังทะลุฟ้าได้จากเพลง “แบ่งสมบัติ” เป็นผู้ปลูกปั้น ขวัญจิต ศรีประจันต์ (ศิลปินแห่งชาติ) เกิดในวงการเพลงได้จากเพลง
“กับข้าวเพชฌฆาต” ชินกร ไกรลาศ (ศิลปินแห่งชาติ) ดังตามด้วยเพลง “เดือนคว่ำเดือนหงาย”

จิ๋ว พิจิตร มีเพลงดังมากมายไม่น้อยกว่า 100 เพลง ในจำนวนเพลงที่ปรากฎแล้วในวงการ
เกือบ 2,000 เพลง ฝากไว้กับนักร้องลูกทุ่งแทบทุกคน อาทิ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ในเพลง
“หม้ายขันหมาก” เพชร โพธาราม ในเพลง “สุโขทัยระทม” ยอดรัก สลักใจ ในเพลง “คาถามหานิยม” และเพลงที่คนลูกทุ่งจะต้องจดจำกันได้ เช่น “ใส่กลอนหรือเปล่า , หน้าด้านหน้าทน, มันมากับความแค้น , ลาน้องไปเวียดนาม , พระเพลิงพิโรธ , สาวคลองจินดา , ยี่สิบเอ็ดมิถุนา ไวพจน์ลาบวช

การแสดง
แสดงลิเก โฆษก แสดงภาพยนต์ ละคร พากย์หนัง นักแต่งเพลง แต่งเพลงแนว ไทยเดิม เพลงพื้นบ้านเน้นศิลปะและวัฒนธรรมไทย ต้นตำนานเพลงบวชนาค

7.รางวัลและเกียรติคุณที่ได้รับ
 

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2514
ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานประกวดเพลงชิงรางวัลแผ่นเสียงทองคำ ครั้งที่ 3 ในบทเพลง “กล่อมลูก”
ขับร้องโดย ขวัญจิต ศรีประจันต์ ณ เวทีลีลาศลุมพินีสถาน

วันที่ 1 ตุลาคม 2534
ได้รับรางวัล ผู้ประพันธ์เพลงคำร้องและทำนองเพลงลูกทุ่งดีเด่น “กับข้าวเพชฌฆาต”
จากคณะกรรมการวัฒธรรมแห่งชาติ เนื่องในงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2”

วันที่ 18 กันยายน 2537
ได้รับพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ในงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งสืบสานวัฒนธรรมไทย” ในบทเพลง “กรรมการ”
ร่วมกันแต่งกับ ชิน ฝ้ายเทพ ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ
ได้รับรางวัลเกียรติสูงสุดจาก คณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุง โดยพลเอกอรุณ
ปริวัติธรรม ประธานอำนวยการจัดทำเพลงถวายสดุดีสมเด็จย่าครบ 90 พรรษา เพลงสมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ

วันที่ 16 มกราคม 2553
ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ครูผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงไว้ในแผ่นดินจากกระทรวง
วัฒนธรรมและสมาคมนักแต่งเพลง “ในวันกตัญญูครูเพลง”

ความสามารถพิเศษ
สามารถแต่งเพลงได้รวดเร็ว เฉียบคม และยังเป็นต้นตำนานเพลงบวชนาค จนถึงปัจจุปันนี้ มีงานบวชนาคที่ไหน ก็จะต้องเปิดเพลงบวชนาคของครูจิ๋วที่นั่น ซึ่งขณะนี้มีมากมายหลาย ผู้ขับร้องและทำนองเพลง
เพลงที่ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันอีกจำนวนมากเช่น
 
เพลงหม้ายขันหมาก ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
เพลงไวพจน์ลาบวช ขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
เพลงผู้หญิงคนนั่นชื่อแม่ ขับร้องโดย ไวพจน์ เพชรสุพรรณ
เพลงคนชื่อครู ขับร้องโดย สุนารี ราชสีมา
เพลงปีหน้าแต่งแน่ ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ
เพลงผัวฉันหาย ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์
เพลงสายัญห์คอยแฟน ขับร้องโดย สายันต์ สัญญา
เพลงพระคุณแม่ ขับร้องโดย สีไพร ไทยแท้
เพลงเวชสันดรเดินดง ขับร้องโดย พร ภิรมย์