วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่

กินเที่ยว
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่

เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ิ

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร,วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. ๑๙๓๔ วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่ิ

 

สิ่งที่น่าสนใจในวัดเจดีย์หลวง

วิหารหลวง
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์(สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของมีพระอัฎฐารสเป็นพระประธานในพระวิหารหลวงหล่อด้วยทองสำริดปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดาราชมารดาของพญาติโลกราชโปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น

พระเจดีย์หลวง
เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็นแบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกาม ดัดแปลงซุ้มตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี 28 เชือก การสร้างรูปปั้นช้างนั้นเป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง 8 เชือก เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้

๑. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”

๒. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”

๓. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”

๔. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”

๕. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”

๖. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”

๗. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)

๘. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”

เสาอินทขิล
เสาอินทขิลเดิมตั้งอยู่ในบรเวณพิ้นที่ซึ่งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า"สายดือเมือง" เมื่อพระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน 14 ปี 4 เดือน 20 วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 12ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2339 เพื่อ"ส้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมืองฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.2343 จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" พร้อมก่อรูป กุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร  ในเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือน ธันวาคม 2535 กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัทศิวกรการช่างจำกัดบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวงด้วยงบประมาณ 35 ล้าน บาท รักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหวให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ 60 เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง 8 เชือก รอบพระเจดีย์แต่ได้รับการวิจารณ์หนัก และปัจจุบันมีความพยายามให้ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้เต็มองค์โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน ราวกับจะให้ร่องรอยพังทลาย ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หมดสิ้นไป

ทราตั้ง : ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

ที่มา : http://www.chiangmai-thailand.net, http://th.wikipedia.org