ระวัง! เชื้อไวรัสจาก โรค HPV อันตรายและติดต่อง่ายกว่าโรคเอดส์

ไลฟ์สไตล์
ระวัง! เชื้อไวรัสจาก โรค HPV อันตรายและติดต่อง่ายกว่าโรคเอดส์

โรค HPV คืออะไร และเราจะมีทางป้องกัน โรค HPV ได้หรือไม่ ไปติดตามข้อมูลนี้กันค่ะ

โรค HPV

HPV ย่อมาจาก Human Papilloma Virus เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากว่า 100 สายพันธุ์  แพร่เชื้อโดยผู้ชายนำเชื้อไวรัสจากหญิงคนหนึ่งมาสู่หญิงอีกคนผ่านทางเพศสัมพันธุ์ หากเจอสายพันธุ์รุนแรงอย่าง HPV16 และ HPV18  อาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งได้ พบในผู้หญิงมากกว่าชาย มีระยะเพาะเชื้อถึง 10 ปี ก่อนจะแสดงอาการ พบบ่อยที่ประเทศอเมริกา
 
สาเหตุ
 
1. เกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย
2. เกิดจากการสัมผัสหูดที่มีเชื้อ HPV 
3. เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
4. มีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่อายุไม่ถึง 16 ปี
5. ไม่ฉีดวัคซีนป้องกัน
 
อาการ
 
1. เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะทำให้เกิดลักษณะเป็น "หูด" หรือที่เราเรียกว่า หูดหงอนไก่ ขึ้นตามบริเวณอวัยวะต่างๆ ในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธุ์แล้วถูกสัมผัส 
2. หูด สามารถพัฒนาไปเป็นเชื้อมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ได้ อาทิ ช่องคลอด ทวารหนัก ปาก เป็นต้น
3. เชื้อที่เกิดขึ้น หากไม่พัฒนาไปเป็นมะเร็ง จะหายไปเองภายใน 2 ปี
 
 โรค HPV
 
การรักษา
 
พบว่ายังไม่มียารักษาโรคนี้โดยเฉพาะ ต้องรักษาตามอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนที่เป็นหูดก็สามารถผ่าหรือจี้ออกได้
 
การป้องกัน
 
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค HPV 
2. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธุ์กับคนแปลกหน้า หรือแม้แต่คู่รัก
3. ผู้ชายควรขลิบอวัยวะเพศ เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเข้าไปในอวัยวะเพศ
4. หมั่นตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 6 เดือน 
5. หากใครพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการรักษาโดยเร็ว
 
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค HPV 
 
1. สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 
2. ความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม 
3. ยังไม่มีข้อมูลรับรองประสิทธิผลของวัคซีนยาวเกินกว่า 10 ปี 
4. หากเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วควรตรวจแปปสเมียร์ เพื่อหาเชื้อ HPV ก่อนเพราะถ้าได้รับเชื้อไวรัส HPV มาแล้ว วัคซีนนี้จะไม่สามารถช่วยป้องกันหรือรักษาได้
5. ราคาของวัคซีน โดยเฉลี่ยเข็มละ 2,000-4,000 บาทค่ะ
 
 โรค HPV
 
ล่าสุด ล่าสุดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก เข้าสู่บัญชียาหลักเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางกระทรวงสาธารณสุขจะฉีดให้ทั้งหมด  2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือนในเด็กหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งมีอยู่ประมาณ 4 แสนคนทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มฉีดวัคซีนในเดือนสิงหาคม 2560 นี้
 
 
 


ขอบคุณข้อมูลจาก pantip.com, honestdocs.co, กรมควบคุมโรค