เป็นคีลอยด์หลังจากทำศัลยกรรม จะแก้ไขยังไงดีนะ?

ไลฟ์สไตล์
เป็นคีลอยด์หลังจากทำศัลยกรรม จะแก้ไขยังไงดีนะ?

คีลอยด์หลังจากทำศัลยกรรมสามารถแก้ไขได้ด้วยด้วยวิธีการอย่างไรนั้น ไปติดตามพร้อมๆ กันค่ะ

 

ศัลยกรรม

แผลเป็นเป็นเรื่องที่น่าจะกวนใจสาวๆ หนุ่มๆ หลายคน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งไปผ่าตัดทำศัลยกรรมมา ก็คงจะมีแอบคิดกันเล็กน้อยว่าชั้นจะมีแผลเป็นมั้ย จะดูน่าเกลียดเกินไปหรือเปล่า โดยเฉพาะแผลเป็นในที่ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เช่น แผลศัลยกรรมคาง (แผลนอก) ศัลยกรรมตัดปีกจมูก และศัลยกรรมหน้าอก

รอยแผลเป็นเกิดได้อย่างไร

สาเหตุเกิดมาจากผิวมีการช่อมแซมตัวมันเอง หลังจากที่มีการถูกทําร้ายของผิวบนชั้นหนังแท้ ซึ่งมันไม่สามารถกลับมาเป็นผิวเดิมได้ นี่แหละที่เรียกว่ารอยแผลเป็น แผลเป็นจะมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือแผลเป็นที่มันปกติ คือแผลเป็นที่ดูเรียบ ดูไม่นูน ไม่น่าเกลียดมาก ใกล้เคียงกับผิวเดิม และแผลเป็นที่ผิดปกติ อาจจะแผลนูน แผลยุบ หรือแผลขรุขระก็สามารถเกิดได้ แล้วก็มีแผลเป็นที่จะกลายเป็นเนื้องอกคีลอยด์ เนื้องอกชนิดนี้คนละอย่างกับเซลล์มะเร็งแต่มันจะลุกลามไปกินเนื้อเยื่อในบริเวณข้างเคียง บางคนก็ลามเติบโตไปเรื่อยๆ เท่าลูกมะนาวเลยก็มี เราจะรู้สึกคัน เจ็บ ปวด ทําให้ใช้อวัยวะส่วนนั้นได้ไม่เต็มที่

แผลเป็นนูนหรือยุบ อะไรเป็นตัวกำหนด

ในข้อนีไม่มีการศึกษาทางการแพทย์ที่แน่ชัดว่าเพราะอะไร แต่โดยธรรมชาติของกระบวนการซ่อมแซมผิว คือช่วงแรกมันจะเร่งสร้างมาเยอะ พอผ่านไประยะหนึ่ง ผิวจะกําจัดปรับเปลี่ยนตัวมันเองให้ใกล้เคียงกับผิวเดิม เพราะฉะนั้นที่แผลนูน อาจเพราะเซลล์ผิวถูกสร้างมากเกินไปแล้วขั้นตอนปรับเปลี่ยนมันน้อยเกินไป ถ้าแผลเป็นยุบก็จะเป็นตรงกันข้าม แผลเป็นเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ ตําแหน่งของแผล สังเกตดีๆ รอยแผลเป็นจากสิวที่เป็นหลุมมักเกิดบนใบหน้ากับขมับ ถ้าแผลเป็นนูนมักเกิดที่คาง จมูกหรือทีลำตัว บางคนเป็นสิวเหมือนกัน แต่คนละตําแหน่ง รอยแผลเป็นก็จะคนละแบบ ถ้าแผลคีลอยด์มันจะฟิกซ์เลยว่าจะเกิดที่ตาแหน่งนี้เท่านัน เช่น ใบหู รูหู หน้าอก หัวไหล ต้นแขน เป็นต้น เพราะฉะนั้นตําแหน่งมีส่วนเยอะเหมือนกันค่ะ

รอยแผลเป็นรักษาได้

นอกจากการทายารักษาแผลเป็นอย่างต่อเนื่องเเล้ว เทคนิคที่ใช้รักษากันอยู่ทุกวันนี้คือ เครื่องเดียวครอบคลุมทุกปัญหาผิว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันทำไม่ได้ เพราะว่าแผลมันมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็ต้องรักษาเฉพาะเพื่อให้ได้ผลเต็มร้อย ซึ่งในเเต่ละเคสนั้นโดยทั่วไปก่อนทําการรักษาแพทย์จะวิเคราะห์รอยแผลเป็นก่อนว่าเป็นแผลเป็นชนิดใด แล้วก็ประเมินและวางแผนการรักษา โดยเริ่มจากการปรับแต่งแผลเป็นให้เรียบเนียนและให้ใกล้เคียงกับผิวเดิมมากที่สุด ส่วนแผลคีลอยด์ก็จะใช้การผ่าตัดกับแสงเลเซอร์และตัวยา ต้องล้างเชื้อที่ตกค้างอยู่ออกให้หมดไม่เช่นนั้นแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นช้ำได้ อย่างไรก็ตามการรักษาแผลเป็นเมื่อเทียบกับการรักษาโรคผิวหนังอย่างอื่นแล้ว จะใช้เวลานานกว่า เพราะหลังจบการรักษาผิวส่วนนั้นก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ จึงต้องมีการติดตามผลเรื่อยๆ อาจต้องใช้เวลา 6 เดือนหรือ 1 ปี ถามว่าหายสนิทเลยไหม ก็คงไม่ 100% จะเหลือตําหนินิดเดียวเท่านั้น ใกล้เคียงกับผิวจริงมากที่สุด

ตําแหน่งที่เกิดคีลอยด์ได้ง่ายที่สุด คือ หัวไหล่ หน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แค่สักหรือเจาะหูนิดเดียวก็สามารถเกิดแผลขนาดเท่าลูกมะนาวได้ ยิ่งถ้าได้ทำศัลยกรรมตามที่ต่างๆ เเล้วก็ควรจะต้องเตรียมรับมือเพื่อดูแลกันตั้งเเต่เนิ่นๆ เช่น ทายาลดรอยแผลเป็น อย่าปล่อยให้แผลเป็นโดนแสงแดด ใช้ซิลิโคนปิดแผลเป็นทุกวัน หรือถ้ามันดูจะเกินเยียวยาเเล้วก็อาจจะต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเรื่องการผ่าตัดรักษาแผลเป็นให้ดูดีขึ้นค่ะ