เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

กินเที่ยว
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี

 


เขื่อน ป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ ณ บ้านหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เป็นเขื่อนดินที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งแม่น้ำป่าสักมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ในจำนวน 25 ลุ่มน้ำของประเทศไทย เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 14,520 ตารางกิโลเมตร...
 มี ลักษณะของลุ่มน้ำแคบเรียวยาว แหล่งต้นน้ำอยู่จังหวัดเลย ลำน้ำมีความยาว 513 กิโลเมตร ไหลผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี สระบุรี และมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

 

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมของโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก อย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อประโยชน์ต่อพื้นที่เพาะปลูก และ บรรเทาปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นประจำในลุ่มน้ำป่าสัก เป็นผลสืบเนื่องมายังเขตกรุงเทพมหานคร และเขตปริมณฑลด้วย ซึ่งนำความเดือนร้อนมาให้ราษฎร์เกือบทุกปี ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนพรรษา เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานว่า หากเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปัจจุบัน ก็สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง และขาดแคลนน้ำให้กับประชาชนได้ จะต้องก่อสร้างเขื่อน 2แห่ง ที่แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำนครนายก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 โครงการนี้ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2537 - 2542 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามเขื่อนนี้ว่า "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" อันหมายถึง "เขื่อนแม่น้ำป่าสักที่เก็บกักน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ" เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้เริ่มเก็บกักน้ำครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบดีราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน แกนดินเหนียว ความยาวประมาณ 4,860 เมตร ระดับกักเก็บน้ำสูงสุดที่ +43.00 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ปริมาณกักเก็บน้ำ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีอาคารระบายน้ำ 3 แห่ง คือ


 

- อาคารระบายน้ำล้น ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 3,900 ลูกบาศก์เมตร 
- อาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิม ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 80 ลูกบาศก์เมตร 
- อาคาร ท่อระบายน้ำฉุกเฉิน ระบายน้ำได้สูงสุดวินาทีละ 65 ลูกบาศก์เมตร การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,336 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง ด้านชลประทาน 7,831 ล้านบาท งบประมาณแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม 15,505 ล้านบาท โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบเสร็จสมบูรณ์และ เพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

 

ประโยชน์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อ อุปโภค ของชุมชนในเขตจังหวัด ลพบุรี - สระบุรี 
- เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่เกิดใหม่ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี 
- ช่วยป้องกันอุทกภัยในเขตพื้นที่ริมแม่น้ำป่าสัก ในเขตจังหวัดลพบุรี-สระบุรี และ ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมถึงกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลด้วย 
- เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลา และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ - เป็นแหล่งน้ำเสริม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในเขตกรุงเทพฯ 
- เป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

ที่มา : tiewpakklang