7 โรคที่ควรระวังในช่วงหน้าหนาว กับวิธีสังเกตุอาการเริ่มต้น

ไลฟ์สไตล์
7 โรคที่ควรระวังในช่วงหน้าหนาว กับวิธีสังเกตุอาการเริ่มต้น

มาศึกษา 7 โรคที่มาในช่วงหน้าหนาว พร้อมกับวิธีสังเกตุอาการเริ่มต้น และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายๆ

ตอนนี้เริ่มเข้าหน้าสู่หนาวอย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งภาคเหนือของประเทศไทยอุณหภูมิกำลังลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสิ่งที่ตามมาคือปัญหาด้านสุขภาพ อาจเกิดโรคที่มาพร้อมหน้าหนาวโดยไม่ทันได้ระวังเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุ จะมีโรคอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันค่ะ
 
1. ไข้หวัดธรรมดา
 
โรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคทางระบบหายใจ มีอาการเจ็บคอ ไอ จาม มีน้ำมูก ปวดตามกล้ามเนื้อ แต่มักไม่มีไข้ และจะหายเองภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีมีภาวะแทรกซ้อนในเด็ก อาจทำให้เกิดปอดอักเสบ ปวดบวม หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคเนื่องจากมีร้อยกว่าสายพันธุ์ ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
 
2. ไข้หวัดใหญ่ 
 
ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อในระบบหายใจอย่างเฉียบพลัน  เชื้อต้นเหตุคือ "อินฟลูเอ็นซาไวรัส" มีสองสัยพันธุ์ คือ A และ B โดยจะมีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ เมื่อยตามเนื้อตัว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน พบบ่อยในผู้หญิงและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งกลุ่มนี้สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกปี เนื่องจากไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการพัฒนาสายพันธุ์ตลอด ผู้ที่ติดเชื้อควรสวมหน้ากาอนามัยปิดปากเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ส่วนผู้ที่ยังไม่เป็นให้หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่เยอะ 
 
โรคหน้าหนาว
 
3. โรคปอดบวม
 
โรคปอดบวมเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไรรัส ทำให้ปอดเกิดการอักเสบ มีหนองและน้ำอยู่ภายในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนได้ จนอาจถึงแก่ชีวิต ผู้ป่วยจะมีไข้ ไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจไม่ค่อยออก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ และผู้สูงอายุ วิธีป้องกันคือพยายามทำให้ร่างกายอบอุ่น ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ และพยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
 
4. โรคหัด
 
โรคหัดเกิดจากเชื้อไวรัสรูบีโอราไวรัสที่พบในจมูกและลำคอ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูหนาว อาการเบื้องต้นคล้ายกับคนที่เป็นไข้หวัด แต่จะพบว่าเป็นหัดเมื่อเริ่มมีไข้สูง ตาแดงแฉะ แสบตา ระคายเคืองตา ไอและมีน้ำมูกมาก จนเริ่มมีผื่นขึ้น ซึ่งอาจเกิดโรคแซกซ้อนได้ เช่น ปอดบวม อุจาระร่วง สมองอักเสบ และหูชั้นกลางอักเสบ ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
 
5. โรคหัดเยอรมัน 
 
โรคหัดเยอรมัน เกิดจากเชื้อไวรัส รูเบลลา เชื้อจะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย ติดต่อได้โดยการหายใจรดกันเช่นเดียวกับโรคหัด อาการมีไข้ต่ำถึงปานกลาง มีผื่นเม็ดเล็กๆ สีชมพูอ่อนเริ่มขึ้นที่ชายผม รอบปาก และใบหูก่อนที่อื่น และจะหายไปภายใน 3-6 วัน ที่สำคัฐคือต่อมน้ำเหลืองจะโตวัดได้จากการคลำ อาจพบสมองอักเสบด้วย ซึ่งอันตรายของโรคนี้คือหากเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกอาจทำให้ทารกแท้งได้ วิธีป้องกันคือการฉัดวัคซีนตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
 
โรคหน้าหนาว
 
6. โรคอิสุกอิใส
 
โรคอิสุกอิใส เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลา ช่วงปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ติดต่อจาการสัมผัสโดนตุ่มที่มีเชื้อหรือสัมผัสของใช้ของผู้ป่วย อากาคือ มีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และมีตุ่มขึ้นหลังจากไข้ประมาณ 1 วัน โดยเริ่มจากเป็นตุ่มแดงราบก่อน จากนั้นจึงเป็นน้ำใสๆ เป็นหนอง รู้สึกคัน และจะออกมาเป็นระรอกเต็มที่ 4 วัน พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้ว
 
7. โรคอุจาระร่วง
 
โรคอุจาระร่วงเกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ในช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อาการคือถ่ายเป็นน้ำ มีไข้ และอาเจียน และก้นแดง ซึ่งเป็นอาการสำคัญของโรคนี้ โดยอาการถ่ายเป็นน้ำจะหายไปภายใน 3-7 วัน อาการไข้หายภายใน 2-3 วันแรก ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัยอาหารและน้ำดื่ม ล้างมือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม และและอีกทางคือการฉีดวัคซีน ซึ่งป้องกันได้ไม่ 100 % แต่ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
 
 
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข