ฝนมาระวังหน่อย! 5 โรคที่มากับหน้าฝน ที่ควรรู้ ดูแลตัวเองยังไงช่วงหน้าฝนนี้

ไลฟ์สไตล์
ฝนมาระวังหน่อย! 5 โรคที่มากับหน้าฝน ที่ควรรู้ ดูแลตัวเองยังไงช่วงหน้าฝนนี้

เข้าสู่ฤดูฝน สิ่งที่หลายๆ คนอาจเริ่มกังวลใจคงจะหนีไม่พ้นเรื่องโรคที่มากับหน้าฝน

เมื่อฝนตกแทบทุกวันและเกือบทุกเวลา ทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น เดาใจน้องฝนกันไม่ถูกอาจทำให้หลายๆ คนเริ่มมีปัญหาเรื่องสุขภาพกันบ้าง ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัด เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก แต่รู้หรือไม่คะว่าโรคที่มากับหน้าฝนนั้นมีมากมายกว่าที่คิด มาดูกันดีกว่าค่ะว่าโรคที่มากับหน้าฝน ที่มีโอกาสจะระบาดในช่วงหน้าฝนนั้นมีอะไรบ้าง จะสามารถป้องกันรวมถึงดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝนแบบนี้ได้ยังไงกันบ้าง

5 โรคที่มากับหน้าฝน
 
1. ไข้หวัดธรรมดา
 

 
โรคไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบนที่กระทบต่อจมูกเป็นหลัก อาการโรค ได้แก่ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล และไข้ ซึ่งมักหายไปเองในเจ็ดถึงสิบวัน แต่บางอาการอาจอยู่ได้นานถึงสามสัปดาห์ โรคนี้มีไวรัสกว่า 200 ชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคหวัดได้ โดยไรโนไวรัส จะเป็นชนิดของไวรัสที่พบว่าเป็นสาเหตุเกิดโรคบ่อยที่สุด
 
โรคหวัดไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ แต่สามารถรักษาอาการให้หายได้ หรืออาจจะเรียกได้ว่า ฆ่าเชื้อไวรัสให้น้อยลงจนถึงขั้นหายไปจากร่างกายชั่วระยะเวลาหนึ่งได้ โรคหวัดเป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ และอยู่คู่กับมนุษยชาติมาแต่โบราณ ผู้ใหญ่ติดโรคหวัดโดยเฉลี่ยสองถึงสามครั้งต่อปี ขณะที่เด็กโดยเฉลี่ยติดโรคหวัดระหว่างหกถึงสิบสองครั้งต่อปี
 
วิธีป้องกัน :
 
วิธีการป้องกันคือ การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันหลัก สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ตามท้องถนน ใช้ขนส่งสาธารณะ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เนื่องจากเชื้อไวรัสติดต่อผ่านทางการหายใจ

 
วิธีรักษา :
 
ผู้ป่วยควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น ใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ และปิดปากเวลาที่ไอหรือจาม หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลังจากไอ จาม หรือสั่งน้ำมูก หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น ไม่เข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีคนมาก หรือหากเป็นไปได้ควรหยุดพักอยู่บ้านเมื่อเป็นไข้หวัดจนกว่าอาการจะดีขึ้น
 
ไข้หวัดนั้นเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาได้โดยตรง แต่คุณสามารถบรรเทาอาการของไข้หวัดลงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
 
พักผ่อนมากๆ การนอนหลับจะช่วยให้อาการของไข้หวัดดีขึ้นได้ อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหนัก ๆ เพราะอาจทำให้ยิ่งอ่อนเพลียมากกว่าเดิม
ดื่มน้ำให้เพียงพอ เมื่อเป็นไข้หวัดคุณมักจะสูญเสียน้ำจากเหงื่อที่เกิดขึ้นจากไข้ และน้ำมูกที่มาพร้อมกับอาการคัดจมูก การดื่มน้ำให้มากขึ้นจะทำให้รู้สึกสดชื่นได้
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นฟูจากอาการเจ็บป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น
 
ShopBack Tips : สาวๆ รู้หรือไม่ว่าวิตามินซีนั้นมีประโยชน์มากมายเพราะนอกจากจะทำให้ผิวสวยแล้วยังช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัดได้อีกด้วย โดยหากคุณรับประทานวิตามินซี 1,000-6,000 มิลลิกรัม ต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด ก็จะมีแนวโน้มหายจากโรคหวัดได้เร็วขึ้นค่ะ
วิตามินซีนอกจากจะมีอยู่ในผักและผลไม้แล้ว ในปัจจุบันยังมีการนำวิตามินซีมาอยู่ในรูปแบบของอาหารเสริม ทั้งแบบเม็ด แคปซูล ลูกอม แบบผง แบบเคี้ยว และแบบน้ำเชื่อมอย่างที่เห็นกันมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งการกินวิตามินซีให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรทานหลังมื้ออาหารหรือทานพร้อมอาหาร เพราะวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารและวิตามินซีไปใช้งานได้ง่ายขึ้น และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
 
สำหรับสาวๆ ที่คิดว่าไม่ได้กินอาหารที่มีวิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันและกำลังมองหาวิตามินซีที่กินง่าย DHC Vitamin C (1000 mg.) ก็เป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่ปลอดภัยและมีมาตรฐาน รับรองว่าไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแน่นอนค่ะ สำหรับสาวๆ ที่สนใจผลิตภัณฑ์ตัวนี้ เข้าไปดูส่วนลด Shopee ผ่าน ShopBack ได้ส่วนลดและยังได้เงินคืนเพิ่มด้วยนะ
 
2. ไข้หวัดใหญ่

 
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดาอยู่ระดับหนึ่ง ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี โดยที่พบมากที่สุด คือ ไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ (H1N1) (H3N2) รองลงมาได้แก่ ชนิด บี และชนิดซี
 
ลักษณะการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ คล้ายกับไข้หวัดธรรมดา คือ ผ่านการไอจาม สัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ส่วนลักษณะของอาการไข้หวัดใหญ่ อาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก มักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
 
อาการไข้หวัดใหญ๋ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้มากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนอาการคัดจมูก จาม เจ็บคอ พบเป็นบางครั้งในไข้หวัดใหญ่ แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
 
วิธีป้องกัน :
 
วิธีป้องกันโรคที่มากับหน้าฝนกลุ่มโรคไข้หวัด คือ อย่านำมือที่สัมผัสกับเชื้อมาขยี้ตา สัมผัสน้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อจากการใช้ช้อนหรือแก้วน้ำดื่มร่วมกัน ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่นั่นก็คือ การล้างมือ การใช้หน้ากากอนามัย การฉีดวัคซีนรวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอค่ะ
 
วิธีรักษา : 
 
โรคไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาได้ ส่วนมากเป็นการรักษาตามอาการ แต่ในรายที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัสโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ไปรับประทาน และอาจให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วย
 
ShopBack Tips: แน่นอนว่าการป้องกันไม่ให้เกิดโรคย่อมดีกว่าการมารักษาโรคในภายหลังค่ะ นอกจากการพักผ่อนให้เพียงพอและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดไปไม่ได้คือการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยนอกจากอาหารแต่ละมื้อที่กินในแต่ละวันแล้ว คุณอาจกินอาหารเสริมเพื่อช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย อย่าง Hi-Balanz Cordyceps Extract Plus Ascorbic Acid ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารสกัดจากถั่งเฉ้า ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ให้ร่างกายแข็งแรง แถมยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการอักเสบ ทำให้เจ็บป่วยยากขึ้น และหายจากอาการป่วยได้ไวขึ้นอีกด้วยค่ะ สนใจรับส่วนลด Konvy ผ่าน ShopBack ได้ส่วนลด ได้เงินคืนด้วยนะคะ
 
3. ไข้เลือดออก

 
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่มากับหน้าฝนที่ร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเสียชีวิต โรคนี้เกิดจากไวรัสเดงกี ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อครั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการของโรคมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ช็อก หรือเสียชีวิต
 
หลายคนเข้าใจว่า โรคนี้ติดต่อจากยุง จริงๆ แล้ว ยุง เป็นแค่พาหะของโรคไข้เลือดออกค่ะ แต่โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ โดยเฉพาะยุงตัวเมีย ที่กัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไข้เลือดออกก็จะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง หลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุขัยของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) ก็จะไปถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้
 
ยุงลาย มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น เป็นโรคที่มากับหน้าฝนโดยมาก พบโรคนี้ได้ตลอดปี
 
อาการของไข้เลือดออก เบื้องต้นจะคล้ายกับไข้หวัดทั่วไป แต่ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่าคือ มีไข้สูงมาก ปวดหัวมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วลำตัว ในบางรายอาจคลื่นไส้อาเจียน อาจพบผื่นแดงหรือจ้ำเลือดใต้ผิวหนังทั่วตัว หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น มีเลือดออกตามเนื้อเยื่อในร่างกาย 
 
วิธีป้องกัน : 
 
1. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด นอนในมุ้ง หรือที่ๆ ปลอดยุงและแมลง 
2. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน บริเวณรอบๆ บ้าน 
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ใส่น้ำทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ 
4. กำจัดภาชนะแตกหักที่ขังน้ำ เช่น ยางรถเก่า กระถาง 
5. เลี้ยงปลากินลูกน้ำในอ่างบัวหรือแหล่งน้ำอื่นๆ 
6. ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมีกำจัดลูกน้ำ (Temephos) ในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ 
7. ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าว
 
วิธีรักษา :
 
ยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับเชื้อไวรัสเดงกีโดยเฉพาะ ต้องรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาพาราเซทตามอลในช่วงที่มีไข้สูง ห้ามให้ยาแอสไพรินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น
 
ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนให้ยาแก้คลื่นใส้และให้ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง และคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้ป้องกันภาวะช็อกได้
 
ระยะที่เกิดช็อกส่วนใหญ่จะเกิดพร้อมๆ กับช่วงที่ไข้ลดลง อาจมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง มีอาการกระสับกระส่ายหรือซึมลง มือเท้าเย็นพร้อมๆ กับไข้ลดลง หน้ามืด เป็นลมง่าย ส่วนมากแล้ว ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลค่ะ
 
4. โรคอุจจาระร่วง

 
โรคอุจจาระร่วง เป็นโรคที่มากับหน้าฝนได้เช่นกัน นอกเหนือจากหน้าร้อนที่คนมักป่วยกันบ่อยๆ แล้ว โรคนี้คนทั่วไปจะเรียกว่า “ท้องเสีย” เป็นภาษาพูดที่หมายถึงการที่คนเราถ่ายเหลวผิดปกติ แต่ในทางการแพทย์ จะใช้คำว่า “อุจจาระร่วง” (diarrhea) มากกว่า
 
โรคอุจจาระร่วง แบ่งได้ตามระยะเวลาที่ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อุจจาระร่วงเฉียบพลัน คือ มีอาการอุจจาระร่วงน้อยกว่า 7 วัน และอุจจาระร่วงยืดเยื้อหรือเรื้อรัง คือมีอาการอุจจาระร่วงนานกว่า 7 วัน อุจจาระร่วงเฉียบพลันจะพบได้บ่อยกว่า และหมอจะแบ่งอุจจาระร่วงออกเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะของอุจจาระด้วย คือ อุจจาระเป็นน้ำหรือเหลว และอุจจาระเป็นมูกเลือด ซึ่งการรักษาทั้ง 2 กลุ่มจะแตกต่าง กัน 
 
อุจจาระร่วงเป็นน้ำ มีสาเหตุที่พบบ่อยหรือที่สำคัญ ได้แก่ อาหารเป็นพิษ ติดเชื้อไวรัสโรตา และ อหิวาตกโรค ส่วนอุจจาระเป็นมูกเลือด มีสาเหตุใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้ออะมีบา 
 
วิธีป้องกัน :
 
ควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน โดยควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ใช้ช้อนกลางและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หรือยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” นั่นเอง
 
วิธีรักษา : 
 
หลักการรักษา คือ ป้องกันการขาดน้ำ โดยการกินน้ำเกลือแร่ ORS หรืออาจจะเตรียมน้ำเกลือแร่เองได้โดย ผสมเกลือ 3.5 กรัม ผงฟู 2.5 กรัม เกลือ potassium chloride 1.5 กรัมผสมน้ำ 1 ลิตร หากอาการถ่ายท้องยังไม่ดีขึ้น ให้ไปพบแพทย์
 
ShopBack Tips : สำหรับคนที่มีอาการท้องเสียควรดื่มน้ำให้มากๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือแร่ เพื่อช่วยชดเชยน้ำที่ร่างกายต้องสูญเสียไป รวมถึงควรกินอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยได้ง่าย เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก โดยให้งดผัก ผลไม้ หรือน้ำผลไม้ไปก่อนเพราะเป็นอาหารที่มีใยอาหารซึ่งจะทำให้เกิดการถ่ายท้องมากยิ่งขึ้นค่ะ
นอกจากนี้คุณอาจรับประทานวิตามินเสริมเพื่อชดเชยวิตามินและเกลือแร่ที่ร่างกายเสียไปด้วย VISTRA Multivitamins & Minerals plus Amino Acid ที่ใน 1 เม็ด ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ทั้งวิตามิน เกลือแร่ และกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ร่างกายต้องการค่ะ หาซื้อแบบมีโค้ดส่วนลด Lazada ได้ ผ่าน ShopBack ได้เงินคืนด้วยนะ
 
5. ตาแดง

 
ตาแดง เป็นอีกหนึ่งในโรคที่มากับหน้าฝนเป็นพิเศษ โรคตาแดง (pink eye หรือ conjunctivitis) เป็นการอักเสบหรือติดเชื้อของเยื่อบุตาซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางใสที่คลุมอยู่ด้านในของเปลือกตาและบนตาขาว อาการของโรคที่สังเกตได้คือ ตาแดง ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา น้ำตาไหล  เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน
 
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย แต่ที่พบส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัส โดยเฉพาะเชื้อไวรัส adenovirus ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ติดต่อได้ง่ายจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง เช่น สัมผัสกับขี้ตาหรือน้ำตาที่ติดอยู่บนมือหรือสิ่งของที่ผู้ป่วยสัมผัส จากการใช้สิ่งของร่วมกัน และจากการหายใจหรือไอจามรดกัน
 
เชื้อโรคแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากๆ เช่น รถโดยสารสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กไม่ระวังหรือป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค มากเท่ากับผู้ใหญ่
 
วิธีป้องกัน :
 
หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ และล้างทันทีหากสัมผัสใบหน้า ดวงตา หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย  หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา เพราะจะทำให้อาการแย่ลงหรือทำให้ดวงตาอีกข้างติดเชื้อได้ ใช้กระดาษทิชชูชนิดนุ่มเช็ดขี้ตาหรือซับน้ำตาบ่อยๆ แล้วทิ้งในถังขยะที่ปิดมิดชิด ไม่ใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้งสองข้าง และให้หยอดตาเฉพาะข้างที่มีอาการเท่านั้น ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วย
 
หากป่วยแล้ว หยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท งดว่ายน้ำในสระว่ายน้ำในช่วงที่โรคตาแดงระบาด พักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น พักการใช้สายตา และพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นแต่กรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามากอาจปิดตาชั่วคราว หรือสวมแว่นกันแดดแทน
 
วิธีรักษา :
 
ใช้น้ำตาเทียมเพื่อลดอาการระคายเคือง หรือประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบ ในกรณีที่มีอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีไข้ เจ็บคอ รวมถึงให้ยาหยอดยาฆ่าเชื้อที่ตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่อาจตามมา
 
และนี่คือ 5 โรคที่มากับหน้าฝนที่สาวๆ ควรระวังในช่วงฤดูฝนนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำฝนโดยตรง และอย่าลืมพกร่มติดตัวกันด้วยนะคะ!

 
ที่มาอ้างอิง :
 
sikarin.com/
 
tm.mahidol.ac.th
 
saintlouis.or.th


Source : SHOPBACK